แรง(งานของความ)รัก

แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษโดยดินแดง

The search for love, dating, is often described as a marketplace, another market where commodities are bought, sold and traded. Love, then, becomes just another commodity to be fetishised. How can we find love under the capitalist patriarchal system and more importantly how can that love ever be reciprocal?

การออกเดท การตามหารักมักถูกนิยามว่าเหมือนเป็นตลาด สถานที่อีกแห่งที่มีสินค้าให้ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ความรักนั้นกลายเป็นสินค้าอีกชิ้นให้ใคร่หา แต่เราจะหาความรักภายใต้ระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ได้อย่างไร หนักกว่านั้น ความรักที่เรามีจะเอื้อต่อกันและกันได้อย่างไร?

The patriarchy and capitalism are constantly evolving, and so too are our intimate relations within those. With technological encroachment, our romantic expectations for relationships have become increasingly alienated by mechanisation. Once you could meet someone at an event or a cafe. There could be a real flesh-and-bone interaction, the catching of eyes, the subtle physical cues, that electric feeling with the presence of the person before you. Now on your screen, you either swipe left or right. It’s like buying a bunch of lottery tickets or trying on a haul of clothes in a fitting room of a chain store their products brought in from sweatshops in the global south. The process of finding love has lost its lustre or lost its humanity, replaced by a cold alienated mechanisation.

ชายเป็นใหญ่และทุนนิยมนั้นวิวัฒนาการมาอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ต่างกันกับความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่เรามีภายใต้ระบบนี้ เมื่อเทคโนโลยีรุกล้ำชีวิต ความคาดหวังเชิงโรแมนติกที่เรามีต่อความสัมพันธ์นั้นก็แปลกแยกขึ้นทุกวันด้วยสิ่งที่คล้ายเครื่องจักรนี้ หากได้เจอใครสักคนที่งานอีเว้นท์หรือคาเฟ่ใดก็ตาม เราก็อาจจะได้รู้จักมักจี่กันแบบซึ่งๆ หน้า สบตา อ่านท่วงท่าอันละเอียดอ่อน รู้สึกหรือรับรู้กระแสไฟฟ้าของการมีใครคนนั้นอยู่ต่อหน้า ตอนนี้บนหน้าจอ คุณเลือกได้ว่าจะปัดซ้ายหรือขวา คล้ายกันกับการซื้อหวยชุดใหญ่หรือลองเสื้อผ้าชุดแล้วชุดเล่าในห้องลองของแบรนด์ใหญ่ที่ผลิตจากโรงงานนรกในซีกโลกใต้ มันไม่มีความเย้ายวนหรือมิติความเป็นมนุษย์ในขั้นตอนการตามหารักต่อไป เพราะมันถูกแทนที่ด้วยกระบวนการราวกับเครื่องจักรอันเยือกเย็นและแปลกแยกเสียแล้ว

 The rules of the dating game are changing as well, it’s still not clear whether newly popularised concepts like Ethical non-monogamy and polyamory can be progressive or oppressive developments under the capitalist patriarchal system. The question becomes, how can there ever be justice in any endeavour of love under that oppressive system? 

กฎของการออกเดทนั้นก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ยังไม่ค่อยแน่ชัดว่าแนวคิดความไม่มีคู่ครองคนเดียวอย่างมีจริยธรรมและการรักกันหลายคนที่เพิ่งจะนิยมกันนั้นเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นหรือกดขี่มากขึ้นกันแน่ ภายใต้ระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่นี้ คำถามมันเลยมีอยู่ว่า แล้วมันจะมีความยุติธรรมในความพยายามที่จะรักภายใต้ระบบอันกดขี่นี้ได้อย่างไร?

 

Commodification 

Intimacy is becoming a commodity. This commodification stretches across the spectrum of deep feelings, interactions, sexual desires and even our own gender identities. Today, a resume for a job application and a resume for love are not so different. In dating apps, it’s now typical to put in your academic qualifications, skills, professions, height, etc. Your profile becomes fungible to potential dates or potential partners somewhere out there on the internet. Of course, one could rightly argue that dating has been tied to marketing since the time of our grandparents.

แล้วเราก็กลายเป็นสินค้า

ความใกล้ชิดนั้นได้กลายเป็นอีกสินค้าหนึ่ง ทั้งความรู้สึกลึกๆ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ความปรารถนาทางเพศ แม้กระทั่งอัตลักษณ์ทางเพศของเราก็ถูกทำให้เป็นอีกหนึ่งสินค้าไปแล้ว ทุกวันนี้เรซูเม่สมัครงานกับเรซูเม่ตามหารักนั้นแทบจะไม่ต่างกัน แอพหาคู่ตอนนี้ก็ปกติแล้วที่จะใส่แบ็คกราวน์ทางวิชาการ ความสามารถ อาชีพ ส่วนสูง และอื่นๆ ประวัติของคุณนั้นกลายเป็นของแลกเปลี่ยนได้ให้คู่เดทหรือคู่ครองที่อยู่ข้างนอกนั้นตรงไหนสักแห่งในโลกอินเทอร์เน็ต แน่นอนว่า อาจจะพูดได้ว่าการหาคู่นั้นก็ผูกโยงอยู่กับตลาดตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายแล้ว

However, with the encroachment of capitalism into every faucet of our lives intimacy has become more of an economic value, causing our love life to be a calculatable part of our existence, just like our work. We need to make sure that our dates have stable jobs and that he/she/they can pay the bills if we go to fancy restaurants, whether they have properties or are part of an aspirational social class. You have to put yourself out in the open market or the supposed free market, where you have to compete with one another in order to attract the potential date

แต่กระนั้น ความละลาบละล้วงที่ทุนนิยมมีในทุกมิติของชีวิตเราทำให้มันกลายเป็นคุณค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น และชีวิตรักของเราเป็นแค่การคิดคำนวณอีกอย่างในชีวิตเรา ไม่ต่างกับงาน เราต้องแน่ใจว่าคู่เดทของเรามีการงานที่มั่นคง และเธอหรือเขาจ่ายบิลค่าข้าวได้ตอนไปกินร้านแพงๆ หรือไม่ก็ พวกเขามีทรัพย์สินอะไรไหนหรือเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นที่น่าจะประสบความสำเร็จอะไรสักอย่างรึเปล่า คุณต้องเอาตัวเองออกไปในตลาดอันเปิดกว้างหรือที่ๆ ดูเหมือนจะเป็นตลาดเสรี ที่ที่คุณต้องแข่งขันกันเพื่อดึงดูดคู่เดท

Your “self” presentation on the internet is a version of you that has been carefully curated, objectifying yourself in the best way possible. Today, regressive beauty standards have come back hugely in dating apps, you don’t want to post your pictures where your belly is out or your arms look big. In recent years, we have been sold body positivity, feminist advocacy on body image and the debunking the beauty myths and standards. But it seems like in the end patriarchy wins, since beauty standards play a big role in online dating sites, and hence the commodification of our bodies has returned. On these online dating apps, you need to have the utmost skills to present your best self including not only your physicality but also your personality. Your entire identity becomes a commodity. You need to convince others why you’re different or unique. High-profile feminist dating coach Evan Marc Katz wrote: 

“Whether you’re a man or a woman, if you sound like everyone else, it will be really hard for someone to come up with a way to write to you. How do you initiate conversation with a man when all he writes is that he wants a woman who’s “kind, smart, funny, considerate, romantic, sexy, and athletic”? Well, I guess you could say “Hi, I’m kind, smart, funny, considerate, romantic, sexy, and athletic. I think we’d be a perfect match.” I don’t think so.” 

ภาพแทนของ “เราเอง” ในอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นตัวตนอีกฉบับของเราที่เราคัดสรรมาเป็นอย่างดี เลือกแล้วว่า เราจะเป็นวัตถุนี้อย่างดีที่สุด ทุกวันนี้ มาตรฐานความงามอันล้าหลังนั้นกลับมาอีกครั้งในแอพหาคู่ คุณไม่อยากโพสต์รูปพุงยื่นๆ หรือรูปแขนใหญ่ๆ ของคุณ ในไม่กี่ปีมานี้ เราซื้อความคิดบวกต่อร่างกายของเราแล้ว เฟมินิสต์ก็ออกมาเรียกร้องเรื่องรูปร่าง รื้อสร้างมาตรฐานและความเชื่อต่างๆ เรื่องความสวยงาม แต่ดูเหมือนว่าชายเป็นใหญ่ก็ยังชนะไปในที่สุดอยู่ดี เพราะมาตรฐานความงามก็ยังเป็นเรื่องใหญ่ในแอพหาคู่ แล้วเราก็กลับมาทำให้ร่างกายเราเป็นสินค้ากันอีกครั้ง ในแอพหาคู่ออนไลน์พวกนี้ คุณต้องมีความสามารถสูงมากเพื่อนำเสนอตัวเองอย่างดีที่สุด ไม่ใช่แค่ทางกายเท่านั้น รวมถึงบุคลิกภาพด้วย ตัวตนทั้งหมดของเรานั้นกลายเป็นสินค้า คุณจำเป็นที่จะต้องโน้มน้าวให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองแตกต่างหรือโดดเด่นกว่าคนอื่นยังไง Evan Marc Katz กูรูการเดทเฟมินิสต์ชื่อดังเขียนว่า

“ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าคุณดูไม่ต่างจากคนอื่นเลย ก็อาจจะยากหน่อยที่จะให้ใครสักคนเริ่มส่งข้อความหาคุณ คุณจะเริ่มคุยกับผู้ชายที่เขียนว่ากำลังมองหาผู้หญิงที่ “ใจดี ฉลาด ตลก เห็นอกเห็นใจคนอื่น โรแมนติก เซ็กซี่ และชอบเล่นกีฬา”? ได้ยังไง อย่างไรก็ตาม คุณก็อาจจะพูดได้ว่า “หวัดดี เราใจดี ฉลาดเห็นอกเห็นใจ คนอื่น โรแมนติก เซ็กซี่ และชอบเล่นกีฬา คิดว่าเราน่าจะเข้ากันได้ดี” และเขาอาจจะตอบ “แต่ฉันไม่คิดอย่างนั้น” 

The presentation of self, which Eva Ullouz describes in her book “Cold Intimacies”,  is the disembodied self where people use those standardized written languages to actually dissociate themselves from the actual self, but rather create this uniformity, standardized and reified version which they created through their established conventional desirable person in their mind. 

Eva Ullouz อธิบายการนำเสนอตัวเอง ไว้ในหนังสือ “ความใกล้ชิดอันเยือกเย็น” (Cold Intimacies) ของเธอ ว่าเป็นตัวตนที่ไม่ปะติดปะต่อกันของคนใช้ภาษาเขียนแบบมาตรฐานเพื่อแยกตัวเองออกจากตัวจริงของตน และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ขึ้นมา มันดูเป็นมาตรฐานและดูเหมือนจริง และสร้างขึ้นจากรูปแบบคนที่น่าปรารถนาตามขนบในความคิดของตัวเอง

 

Alienation of yourself 

There are a lot of cliché around love. Some of them involve gender roles and expectations, of gendered behaviours in love. How one is supposed to behave if they are a specific gender. If you’re a woman you have to wait for a proposal, you have to be protected, you shouldn’t pay the bills, etc. Even today, among supposedly progressive people, these generalisations still reflect the realities on the ground. Even if the dowry is considered a thing of the past, the reality on the ground in Thailand is that it still commodifies women as a possession of parents.

แปลกแยกจากตัวเอง

ความรักเองก็มีหลายประเด็นคลิเช่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบาท ความคาดหวังทางเพศ และพฤติกรรมทางเพศต่างๆ ในความรัก ถ้าเรามีเจนเดอร์หรือเพศสภาพแบบใดแบบหนึ่ง เราจะต้องทำตัวยังไง ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องรอให้อีกฝ่ายเริ่มก่อน ต้องมีคนมาเคยปกป้อง ไม่ควรจ่ายบิล และอื่นๆ แม้กระทั่งทุกวันนี้ ในกลุ่มคนที่เหมือนจะก้าวหน้า คำกล่าวง่ายๆ แบบนี้ก็ยังมีเค้าของความจริงอยู่บ้าง ถึงแม้ว่าสินสอดทองหมั้นจะดูเหมือนเป็นเรื่องตกยุคไปแล้ว แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในไทย มันก็ยังมาใช้ทำให้ผู้หญิงเป็นสินค้าในฐานะข้าวของของพ่อแม่ได้อยู่ 

The higher capitalist status a woman possesses, be it in education, level of income, profession, or language skills, the higher the dowry rate will be. Social relationships and parents have groomed their children to obtain capitalistic values, so when their fruits are ready to be harvested, they can be certain they will get the highest yield. This commodity system is not disadvantageous for only women, it also pressures men to be the perfect “breadwinner”, for a family to be a suitable mate for their partner. It puzzles queer or LGBTQ people’s parents as this dowry system works so well in the binarism culture and destroys what they expected to gain from their children.

ยิ่งผู้หญิงคนนั้นมีสถานะทางทุนนิยมสูงเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา รายได้ อาชีพ หรือทักษะทางภาษาก็ตาม ค่าสินสอดของพวกเธอก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ความสัมพันธ์ต่างๆ ในสังคมและครอบครัวต่างก็ปูทางให้เด็กๆ ได้มีคุณค่าแบบทุนนิยม เมื่อผลพร้อมให้เก็บเกี่ยว พวกเขาก็จะได้มั่นใจว่าจะได้ผลลัพธ์มากที่สุด ระบบสินค้าแบบนี้ไม่ได้แย่ต่อผู้หญิงเท่านั้น มันยังกดดันให้ผู้ชายต้องเป็นคน “หาเลี้ยง” เพื่อครอบครัวจะได้เป็นคู่ครองที่เหมาะสมที่สุด เรื่องนี้นั้นยังถือว่าน่างุนงงสำหรับบ้านที่มีสมาชิกเพศทางเลือกอยู่มาก เพราะระบบสินสอดนั้นเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมสองขั้ว และทำลายสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้จากลูกไป

 

Violence 

Together with the expectations, modern-day love also normalises violence in all sorts of forms that are emotional, economic, physical and cultural. In 2024, we even see a popularisation of tradwives with little mention of traditional families/marriages/husbands. Whereas in our experiences we see gaslighting, love-bombing, and non-formalised relationships…

ความรุนแรง

ความคาดหวัง ความรักในยุคใหม่นี้ทำให้ความรุนแรงกลายเป็นเรื่องปกติไปซะแล้ว มันเป็นความรุนแรงในหลายๆ รูปแบบ ทั้งทางอารมณ์ เศรษฐกิจ ทางกาย หรือทางวัฒนธรรม ในปี 2024 เรายังเห็นคำว่า tradwifves (แม่บ้านตามขนบ) กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง แต่แทบไม่เห็นคำว่า ครอบครัว/การแต่งงาน/สามีตามขนบเลย ในขณะที่ประสบการณ์ของเรานั้นเห็นแต่แก๊สไลท์ (ปั่นหัว) เลิฟบอมป์ (ทุ่มความรัก) และความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการต่างๆ มากมาย…

Emotional unavailability becomes abundant under capitalism whereby most of us are trying to make ends meet at the end of the month– lives are lived in a constant state of precarity. Quality of life has reduced tremendously in the last few decades and our generation are losing a grip on the essence of living your life to the fullest, like we are born into precarity with inherited depression and anxiety.

การไม่สามารถเข้าถึงหรือรับรู้อารมณ์ได้นั้นพบได้ทั่วไปในระบบทุนนิยมที่เราส่วนใหญ่พยายามชักหน้าให้ถึงหลังในแต่ละเดือน – เราต้องใช้ชีวิตอยู่ในภาวะอดอยากขาดแคลนอยู่ตลอดเวลา คุณภาพชีวิตเองก็ตกต่ำลงอย่างน่าใจหายในไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา คนรุ่นเราก็ไม่รู้อีกต่อไปแล้วว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรให้เต็มที่ที่สุด เหมือนกับว่า เราเกิดมาท่ามกลางความขาดแคลนและได้รับมรดกเป็นโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า

This might have been with us since our parents’ time, perhaps back then they just didn’t know what to call panic attacks or anxiety attacks or PTSD etc. Looking for love, looking for “the one” has been a constant quest for most of us while living under these precarious conditions, with serious loneliness in our lives. But how do we find “the one” when our emotions and feelings are commodified and tailored to fit into the capitalist lifestyle?

ประเด็นนี้อาจจะอยู่กับเรามาตั้งแต่ยุคพ่อแม่ แต่ในตอนนั้น เราอาจจะไม่รู้หรือเรียกมันว่าอาการแพนิก อาการวิตกกังวล หรือ PTSD การตามหารัก การตามหา “คนที่ใช่” เป็นภารกิจต่อเนื่องของเราส่วนใหญ่ ในขณะที่ยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่กับความขาดแคลนและความโดดเดี่ยวเดียวดายอย่างแสนสาหัสในชีวิตของเรา แต่เราจะหา “คนที่ใช่” อย่างไร ในเมื่ออารมณ์และความรู้สึกถูกทำให้เป็นสินค้าและดัดแปลงให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ทุนนิยม? 

How can anyone really love a commodity? Especially if you are a woman or from a marginalized gender, living with the constant fear of being sexually exploited while looking for “the one” or even going on casual dates. So too managing the discrepancy of power between the global north and south that people might favour you for their fetishism of your culture or perceived subservience. 

แล้วใครกันล่ะ จะสามารถรักสินค้าได้อย่างจริงแท้? โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้หญิงหรือเพศชายขอบ ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับความกลัวว่าจะโดนหาเศษหาเลยอยู่ตลอดเวลา ระหว่างที่ต้องตามหา “คนที่ใช่” ต้องออกไปเดทแบบชิลๆ หรือบริหารอำนาจที่ไม่เท่ากันระหว่างซีกโลกเหนือและโลกใต้ ที่คนอาจจะมาชอบเรา เพราะความใคร่ในวัฒนธรรมบางอย่าง หรือคิดไปแล้วว่าอีกฝ่ายนั้นยอมคน

bell hooks said that patriarchy teaches that “masculinity has to be proved by the willingness to conquer fear through aggression”. We can fear that we will lose what/whom we love but most of the time, these fears are tragically expressed in violent forms. Sexual violence is the oldest crime, a crime that is still permitted at large today.

bell hooks บอกว่าชายเป็นใหญ่นั้นสอนให้ “ต้องพิสูจน์ความเป็นชายด้วยการยินดีที่จะใช้ความก้าวร้าวเพื่อเอาชนะความกลัว” เรากลัวได้ ว่าเราจะสูญเสียสิ่ง/คนที่เรารัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่คือความกลัวพวกนี้มันถูกแสดงออกมาในรูปแบบที่รุนแรง ความรุนแรงทางเพศนั้นเป็นอาชญากรรมที่มีอายุยืนยาวที่สุด และยังคงได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้นในทุกวันนี้

 

Patriarchy and Male Domination 

Patriarchy is something we don’t talk about in our intimate relationships or in our modern day love endeavors. It’s always around the corner. It is something we put under the rug. Patriarchy as bell hooks said, “it’s a social disease of our society”. It affects every organ, not only in our intimate relationships but also in our political systems, economic and socio-cultural systems. Male domination is the underlying turmoil that always happens to be overlooked before we try to change anything.

ชายเป็นใหญ่และอำนาจครอบงำของเพศชาย

ชายเป็นใหญ่นั้นเป็นอะไรที่เรามักไม่ค่อยพูดคุยกันในความสัมพันธ์ใกล้ชิดของเราหรือในความรักสมัยใหม่ ประเด็นนี้มักจะคอยซ่อนอยู่ในหลืบเสมอ และถูกปัดไปซุกไว้ใต้พรม ชายเป็นใหญ่นั้นก็เหมือนกับที่ bell hooks กล่าวไว้ว่าเป็น “โรคร้ายในสังคมของเรา” มันส่งผลกับอวัยวะทุกอย่าง ไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ใกล้ชิด แต่ยังส่งผลกับระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรม การครอบงำของเพศชายนั้นเป็นความวุ่นวายที่ซ่อนอยู่ภายใต้ระบบพวกนี้ มันมีอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ถูกมองข้ามไปเสมอ ก่อนที่เราจะพยายามเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง

Male privilege is also something we are reluctant to talk about, as it always brings along with it masculine resentment and patriarchal grievances. A lot of our male friends are not comfortable if we want to talk about fairness and justice in our gendered world. Most of them will still insist upon the physical differences we have, the large number of female labour forces in the factory or girls going out at night, making their way to the bars and being able to move relatively freely. 

อภิสิทธิ์ของเพศชายนั้นก็เป็นอีกสิ่งที่เราไม่ค่อยพูดถึงกัน เพราะเมื่อไรก็ตามที่พูดเรื่องนี้เรื่องความขุ่นเคืองของเพศชายและความเจ็บใจของชายเป็นใหญ่ เพื่อนผู้ชายหลายคนนั้นคงไม่สบายใจถ้าเราต้องการพูดคุยเรื่องความเป็นธรรมและความยุติธรรมในโลกที่แบ่งเพศของเรา หลายคนก็ยังคงยืนยันว่าเรานั้นแตกต่างกันด้วยร่างกาย และก็มีผู้หญิงส่วนใหญ่อยู่ในตลาดแรงงานในโรงงาน หรือก็มีผู้หญิงที่ยังออกไปเที่ยวกลางคืน ไปบาร์นั้นบาร์นี้ได้อย่างอิสระ

Society is centred around men, and the standardisation is to look up to them. The “cool detached” masculinity, removed from emotional intimacy, is the epitome of what everyone should be in this dating culture; anyone who exhibits this coolness then has the upper hand in the relationships. Men are usually seen as providers or protectors whereas women are seen as receivers or carers. The power imbalance in intimate relations is obvious not only in sexual relationships but also in the other aspects of the relationships..

สังคมนั้นให้ผู้ชายเป็นศูนย์กลาง แล้วก็สร้างมาตรฐานให้เราต้องคอยมองผู้ชายเป็นแบบอย่าง ความเป็นชายที่ “คูลและไม่ค่อยแคร์ ไม่โยงอยู่กับความใกล้ชิดกับอารมณ์ นั้นเป็นจุดสูงสุดที่ทุกคนควรจะเป็นในวัฒนธรรมหาคู่นี้ ฝ่ายที่แสดงออกแบบคูลๆ นี้ก็จะถือไพ่เหนือกว่าในความสัมพันธ์ไปโดยปริยาย เพศชายนั้นมักถูกมองว่าเป็นคนที่คอยหาอะไรมาให้และเป็นผู้ปกป้อง ในขณะที่เพศหญิงนั้นถูกว่ามองเป็นผู้รับและผู้ดูแล ความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ไม่เท่ากันในความสัมพันธ์ใกล้ชิดนั้นชัดเจนมาก ไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ทางเพศ แต่ก็ยังเป็นในมุมอื่นๆ ของความสัมพันธ์ด้วย…

The gendered power relations can be understood through how decisions are made within our families, in public spaces, and in government offices– in all aspects of the society. As women or marginalized genders, we normally aren’t allowed to have opinions or even to speak up about our thoughts and feelings. Women are supposed to be passive, and submissive and to always be ready to give up dreams and their wants in society. The expectations we have in society of men and women are based on these gendered power relations.  

ความสัมพันธ์ทางอำนาจในมิติทางเพศนั้นสามารถทำความเข้าใจผ่านการตัดสินใจในครอบครัว ในพื้นที่สาธารณะ ในสำนักงานราชการ— ในทุกมิติของสังคม ว่าตัดสินใจอย่างไร ในฐานะของผู้หญิงหรือเพศชายขอบ เรามักจะไม่ค่อยได้รับอนุญาตให้มีความเห็นหรือพูดเรื่องความคิดและความรู้สึกของเรา ผู้หญิงนั้นควรไม่กระโตกกระตาก ยอมคน และพร้อมทิ้งความฝันและความต้องการในสังคมเสมอ ความคาดหวังต่างๆ ที่เรามีในสังคมต่อผู้ชายและผู้หญิงนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในมิติทางเพศต่างๆ นี้

 

Love Under Patriarchy Is Never An Emancipated Love 

No one really knows what came first, capitalism or patriarchy. But what we know for sure is they both operate so well together that we let it unconsciously slide into our lives. It prioritises the man as the centre and the foremost achievable sex in every aspect, while “the rest”, women, queer, lesbian, gay, and others get just minor roles in the stage of life. The masculine exists in “public” spheres while the feminine should remain the host in “private” spheres. 

ความรักภายใต้ชายเป็นใหญ่นั้นไม่ใช่ความรักที่ปลดปล่อยให้เป็นอิสระ

ไม่มีใครรู้ว่าจริงๆ แล้วอะไรมาก่อน ทุนนิยมหรือชายเป็นใหญ่ แต่สิ่งที่เรารู้แน่ๆ คือทั้งสองอย่างทำงานไปด้วยกันอย่างดี และเราให้มันมีอิทธิพลต่อชีวิตโดยไม่ได้รับรู้เท่าไรนัก ระบบนี้ให้อภิสิทธิ์กับผู้ชายราวกับเป็นตัวเอกและเป็นเพศที่ประสบความสำเร็จก่อนเพศอื่นในทุกด้าน ในขณะที่ คนที่เหลือ ผู้หญิง เควียร์ เลสเบี้ยน เกย์ และคนอื่นนั้นได้รับแค่บทรองๆ ในเวทีชีวิตเท่านั้น ความเป็นชายนั้นอยู่ในที่ สาธารณะ ในขณะที่ผู้หญิงควรเป็นคนที่เป็นคนดูแลในพื้นที่ ส่วนตัว

Forms of capitalist patriarchal love can be subtle or explicitly violent, they are always with us in our daily lives. Norms around love, marriage, sex and intimacy may have changed, but the power struggle between genders is present. We have seen too many cases of “solo poly” men surrounded by tremendous amounts of emotional labour from their female partners. In fact, the patriarchy seems even stronger than before with the help of social media. Social media personnel such as Andrew Tate has had such a big influence on Gen Z that a recent survey showed that most young people have a positive opinion about this misogynist social media influencer. 

รูปแบบความรักทุนนิยมชายเป็นใหญ่นั้นสามารถเห็นได้ชัดว่ารุนแรงหรือจะเป็นไปแบบแอบๆ ก็ได้ มันอยู่กับเราตลอดในชีวิตประจำวัน บรรทัดฐานของความรัก การแต่งงาน เพศ และความใกล้ชิดนั้นอาจจะเปลี่ยนไป แต่การต่อสู้ของอำนาจระหว่างเพศนั้นยังมีอยู่ เราเห็นผู้ชาย โซโล โพลี่ หลายต่อหลายคนถูกห้อมล้อมไปด้วยแรงงานทางอารมณ์จากพาร์ทเนอร์ผู้หญิงทั้งหลาย ที่จริงแล้ว  ชายเป็นใหญ่ดูเหมือนจะแข็งแกร่งกว่าก่อนหน้านี้ด้วยซ้ำจากโซเชียลมีเดีย คนสำคัญในโซเชียล เช่น Andrew Tate นั้นมีอิทธิพลสูงมากต่อเจนซี แม้กระทั่งเซอร์เวย์ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าคนอายุน้อยนั้นมีความเห็นเป็นไปในเชิงบวกต่ออินฟลูเอนเซอร์ที่เหยียดเพศหญิง

Alongside these dangerous social media influences, liberal feminism’s contribution to the patriarchy shouldn’t be forgotten as well. A strong advocate of individual empowerment and “women can do it” attitude. Liberal feminism creates a double standard on women’s roles in both private and public spheres. Expecting women to be champions in households who are portrayed as strong women with kids and happy families meanwhile they are in the boardrooms of companies. That portrayal totally ignores the class dimension of the feminist struggle which intersects on race, class and gender. Today’s patriarchy is at the trajectory of capitalism and sexism holds deep intertwined roots on which the foundation of our society is grounded. 

นอกจากอิทธิพลจากโซเชียลมีเดียที่อันตรายอย่างนี้แล้ว เราก็จะลืมสิ่งที่ลิเบอรัลเฟมินิสต์มีส่วนต่อชายเป็นใหญ่ การรณรงค์เรื่องการให้อำนาจส่วนตัวและทัศนคติแบบ ผู้หญิงก็ทำได้” ลิเบอรัลเฟมินิสต์นั้นสร้างสองมาตรฐานของบทบาทของเพศหญิงทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ คาดหวังว่าผู้หญิงจะต้องเก่งในบ้าน มีภาพว่าเป็นผู้หญิงแกร่งที่มีลูกและครอบครัวสุขสันต์ ในขณะที่ยังต้องอยู่ในคณะผู้บริหารของบริษัท การเสนอภาพแบบนี้นั้นหลงลืมมิติของชนชั้นในการต่อสู้ของเฟมินิสต์ที่เกี่ยวโยงอยู่กับเชื้อชาติ ชนชั้น และเพศ ชายเป็นใหญ่ในทุกวันนี้นั้นอยู่ในกระแสของทุนนิยมและการเหยียดเพศนั้นมีรากที่เกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งอยู่ที่ซึ่งฐานของสังคมเรานั้นตั้งอยู่

 

In the end, what do we want? 

There is a quote from Beautiful World: Where Are you? By Sally Rooney, “Because when we should have been reorganizing the distribution of the world’s resources and transitioning collectively to a sustainable economic model, we were worrying about sex and friendship instead. Because we loved each other too much and found each other too interesting. And I love that about humanity, and in fact it’s the very reason I root for us to survive – because we are so stupid about each other.” This ability to love fully should be the most humanizing act possible in capitalism. We want a love that is free from manipulation, guilt, and lies for power… In and for love — we want the “life-affirming” / care actions to prove that we are still humans who are capable of connecting with one another and that love is action after action, not just feelings removed of any agency. To love, we must be conscious and make choices to be loving again and again.

ในที่สุดแล้ว เราต้องการอะไร?

โควทจากหนังสือเรื่อง ขอแค่โลกรักเพียงพักเดียว (Beautiful World: Where Are You?) โดย Sally Rooney “เพราะในขณะที่เราควรไปยุ่งอยู่กับการแบ่งทรัพยากรโลกเสียใหม่และเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบเศรษฐกิจยั่งยืนร่วมกัน เรากลับกังวลเรื่องเซ็กส์และมิตรภาพแทน เพราะเรารักกันมากเกินไปและเห็นว่าแต่ละคนน่าสนใจเกินไป ฉันชอบสิ่งนั้นของมนุษย์ และเหตุผลนี้นี่เองที่ฉันอยากให้เรารอดชีวิต – เพราะว่าเราลุ่มหลงกันและกันอะไรอย่างนี้” ความสามารถที่จะรักจนเต็มอกนี้ควรเป็นการกระทำที่มีมนุษยธรรมที่เป็นไปได้อย่างที่สุดแล้วในทุนนิยม เราต้องการความรักที่ปราศจากการควบคุม ความรู้สึกผิด และการโกหกเพื่ออำนาจ… ด้วยรักและเพื่อรัก – เราต้องการการกระทำที่ “ให้คุณค่าของชีวิต” / เอาใจใส่ เพื่อพิสูจน์ว่าเรายังเป็นมนุษย์ที่สามารถเชื่อมโยงกับอีกคนหนึ่งได้ และความรักคือการกระทำแล้วการกระทำเล่า ไม่ใช่แค่ความรู้สึกที่ปราศจากอำนาจที่กำหนดใดๆ หากจะรัก เราต้องรู้ตัวและตัดสินใจว่าจะรัก อีกครั้งและอีกครั้ง

 

Further Readings
อ่านเพิ่มเติม

all about love, bell hooks

The Radicality of Love, Srećko Horvat

https://www.theguardian.com/news/2024/feb/01/gen-z-boys-and-men-more-likely-than-baby-boomers-to-believe-feminism-harmful-says-poll

https://www.versobooks.com/en-gb/blogs/news/2499-love-s-labour-s-cost-the-political-economy-of-intimacy?_pos=1&_psq=inti&_ss=e&_v=1.0