เรื่อง Samaideng Tungdin & Gabriel Ernst
แปล sirisiri
บรรณาธิการ Sarutanon Prabute
แก้ไขเพิ่มเติมโดยผู้แปล 27 พฤศจิกายน 2021

English Version


คำนำผู้แปล

ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็น “จักรวรรดินิยม” จากคำว่า Imperialism รวมถึงกระบวนการทำให้เป็นอาณานิคม (ทำให้เป็นเมืองขึ้น) จากคำว่า colonisation มีการพัฒนาในตัวเองอย่างสำคัญและต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการดังกล่าวถือเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการเมืองโลกอย่างไม่เสื่อมคลาย และในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก

กรณีที่เจ้าอาณานิคมเข้าดำเนินการบริหารจัดการอำนาจเหนืออาณานิคมอย่างเปิดเผยโดยใช้ “คน” ของตนไปปกครองอย่างในยุคอาณานิคมทางเรือช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 นั้นถือว่าล้าหลังไปแล้ว ปัจจุบันเจ้าจักรวรรดิใช้การครอบงำอาณานิคมของตนผ่าน “อุดมการณ์” ในระดับปัจเจกทั้งยังทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นเรื่องน่าสับสนเมื่อพยายามจะทำความเข้าใจต่อข้อสงสัยที่ว่า “ไทยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกหรือไม่?” (ซึ่งจะตามมาด้วยข้อสงสัยอีกหลายประการ) อุปสรรคในการพัฒนาความเข้าใจต่อประเด็นดังกล่าวประการหนึ่งเกิดจากว่ามันไปกระตุ้นความเป็นนักชาตินิยมฟาสซิสต์ของชาวไทยให้ต้องเดือดดาลจนเสียสมาธิที่จะทำความเข้าใจถึงโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทยที่ไม่เคยยึดโยงกับคนในชาติอย่างแท้จริง หรือพูดอย่างถึงที่สุดคือความเป็นทาสทางความคิดของคนไทยโดยการครอบงำของชาติตะวันตกได้ฝังลึกลงไปในระดับจิตใต้สำนึกอันสุดแสนจะเสรีของพวกเขาเสียแล้ว (เช่น กิจกรรมรับน้องอย่างเสรี) โดยเฉพาะข้อเสนอที่ยิ่งกระตุ้นความโกรธเคืองของพวกเขาอย่างมาก เพราะความรักอย่างบริสุทธิ์ต่อกรณีความเกี่ยวข้องของครอบครัวแห่งชาติที่เป็นทั้งสัญลักษณ์แห่งความดี และเครือข่ายอุปถัมภ์แบบไทยๆ ในฐานะเครื่องมือของฝรั่ง

หากคุณเชื่อคำคมที่ว่า “คุณในวันพรุ่งนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน” จงอย่าละเลยว่าศักยภาพที่จะ “งมงาย” นั้นสามารถถูกพัฒนาได้ง่ายกว่ายิ่งกว่าศักยภาพอื่นๆ นั่นทำให้การครอบงำทางอุดมการณ์ยิ่งมีประสิทธิภาพสูง เพราะผู้งมงายไม่จำเป็นต้องสงสัย ไม่มีใครสามารถบังคับขู่เข็ญเอามันไปจากพวกเขาได้ และมันจะเพิ่มขึ้นในทุกๆ วันอย่างไม่มีสิ้นสุด

 

“การถูกคุกคามโดยจักรวรรดิในระดับจิตไร้สำนึก”

หากพิจารณากิจกรรมของรัฐจักรวรรดิไทยที่มักผลักไส ประชากร/แรงงาน ของตนออกจากความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างรัฐกับราษฎร ขณะเดียวกับที่พยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอำนาจชี้นำวิถีผลิตและวิถีชีวิต โดยมุ่งกีดกัน ผล/ประโยชน์ ออกจากผู้ผลิต ในที่นี้คือจังหวัดต่างๆ หรือบ้านนอก และเรียกมันว่า “ผลประโยชน์แห่งชาติ” หรือพูดอย่างถึงที่สุดได้ว่ารัฐไทยต้องการให้ชุมชนทั้งหมดที่อ้างอิงแผนที่อาณาจักรไทย

ผู้เขียนบทความ (ผู้เขียนบทความต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ) เคยมีโอกาสไปเยือนหมู่บ้านของชาวลีซูแถบชายแดนภาคเหนือตอนบน ขณะที่ได้พบกับหัวหน้าหมู่บ้าน เขาเห็นธง 2 ผืน ผืนหนึ่งสีแดง, ขาว และน้ำเงิน นี่คือธงไตรรงค์ของรัฐไทย คู่กับธงสีเหลืองของราชวงศ์ หัวหน้าเผ่าไม่ใช่คนไทย ไม่มีใครที่นี่เป็นคนไทย ถึงอย่างนั้นธงเหล่านี้ก็โบกสะบัดอยู่เหนือบ้านของหัวหน้าชุมชน มันช่างดูคลับคล้ายว่าเคยเกิดขึ้นมาแล้วในพม่า ไกลออกไปไม่กี่กิโลเมตรที่นั่นมีธงอังกฤษโบกไสวแบบเดียวกันนี้มาก่อน

จักรวรรดิต่างๆ พยายามขยายขอบเขตอำนาจของตน แน่นอนพวกเขาไม่ใช่เจ้าเดียวที่พยายามจะขยายร้านสาขาของตน (แบบเดียวกับที่ CP ทำ) ที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นจักรวรรดิอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึง 20 กิจกรรมเหล่านี้ทิ้งร่องรอยเป็นมรดกให้เห็นทั่วไป กล่าวได้ว่าแนวทางข้างต้นเป็นแบบแผนที่จักรวรรดิอเมริกานำมาใช้ในปัจจุบัน

แน่ล่ะพวกเขาไม่ได้แปะป้าย “This is America (Property)” (นี่คือทรัพย์ส่วนตัวของอเมริกา) และป่าวประกาศไปทั่วว่าที่ดินผืนนั้น หรือแผ่นดินถิ่นนี้เป็นสินทรัพย์ของพวกเขา พวกเขาเพียงใช้ทุกวิถีทาง โดยเฉพาะกำลังรบ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เพื่อให้เหล่าชนพื้นถิ่นทั้งผู้มีและผู้ยาก ทั้งผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่ คล้อยตามอำนาจต่างด้าวอันเป็นดั่งสายพันธุ์ต่างถิ่นที่นำความฉิบหายมาสู่ระบบนิเวศ (alien species) ก็คืออำนาจจากจักรวรรดิที่เข้ามาขัดขวางการปรับตัวของชนพื้นถิ่นจนไม่สามารถใช้มุมมองข้อแม้ที่สอดคล้องกับวิถีผลิตและวิถีชีวิตของพวกเขาเอง (autonomia) ไม่ได้หมายถึงว่าเราควรจะรักษาความบริสุทธิ์ของท้องถิ่น หากแต่ว่าอำนาจที่เข้ามาของเจ้าจักรวรรดินั้นมักไม่ใช่อำนาจที่เข้ามาอย่างเป็นมิตร แต่มักจ้องจะจับเอาชุมชนต่างๆ เข้าเป็นทาสของตนอย่างโจ่งแจ้ง

อาจเปรียบเทียบกับต้นปาล์มต่างถิ่นใน ภาพยนตร์ DUNE (2021) ที่ชาวเฟรแมนในดาวอาราคิสที่มีภูมิประเทศแบบทะเลทรายทั้งดาว ได้นำพืชเข้ามาปลูกด้วยเหตุว่ามันเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์จากความเชื่อของจักพรรดิ หรือจักรวรรดิ อันไม่สอดคล้องกับความต้องการที่จะนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ดาว หรือกระทั่งหวังว่าไม้มงคลจะนำพาการปลดปล่อยพวกเขาเองจากการเป็นทาส (อาณานิคม) สู่อิสรภาพในสักวัน ต้นไม้นี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของความเชื่อที่ครอบงำและชี้นำผู้คนที่ถูกผลักไสโดยอาณาจักรของตน ผู้ดูแลสวนยังเล่าอีกว่า “ต้นไม้นี้ใช้น้ำสำหรับคน 5 คนต่อวันต่อต้น ในสวนนี้มีปาล์ม 20 ต้น สวนนี้ใช้น้ำสำหรับคน 100 คนต่อ 1 วัน” (ผู้แปล)

อย่างไรก็ตามการขยายตัวของอำนาจดังกล่าวไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ในโลกฝั่งตะวันตกเท่านั้น จักรวรรดิญี่ปุ่นเองได้แผ่อำนาจของตนออกไปอย่างกว้างขวาง ร้ายกาจจนเป็นที่โจษขานไม่ต่างจากศัตรูทางโครงสร้างของมันเอง (นั่นคือกลุ่มจักรวรรดิยุโรป)

เรายังสามารถพบตัวอย่างความพยายามของอาณานิคมที่ถูกครอบงำได้ปราบปรามคนของตนโดยที่มองว่าพวกเขาเป็นคนอื่น เป็นศัตรูไม่ต่างจากที่จักรวรรดิทำต่อชนชั้นนำอันเป็นตัวแทนของรัฐ เพียงแต่มีขนาดที่ย่อส่วนลงมาในระดับ อบต. และที่นี่ในประเทศไทยก็เช่นกัน

ความเป็นจักรวรรดินิยมผ่านจิตไร้สำนึกและผู้ถูกกีดกันหรือคนชายขอบ

Imperialism (อิมพีเรียลลิสซึ่ม) หมายถึงวิถีคิดที่มุ่งหาการขยายกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ซึ่งอ้างอิงเอาจากแผนที่รัฐชาติสมัยใหม่ รวมเข้ากับ auto จาก auto-canibalism ซึ่งหมายถึงการกัดเล็บ, งูกินหางจากสภาวะกดดันทำให้ทำร้ายหรือกัดกินตัวเองโดยไม่รู้ตัว ในที่นี้

auto-imperialism จึงหมายถึงการยัดเยียดวิถีชีวิตสู่ระดับชุมชนพื้นถิ่น

(เช่นในทางภูมิศาสตร์อย่างง่ายให้นึกถึงระดับภูมิภาคเหนือ, ใต้, ออก, ตก หรือจังหวัด ซึ่งในทางวัฒนธรรมยังจะซับซ้อนมากขึ้นเมื่อคำนึงถึงการย้ายถิ่นฐาน)

ซึ่งก็คือการบังคับให้ชุมชนท้องถิ่นที่ตกอยู่ในฐานะแรงงานของเจ้าอาณาจักรแล้วยังต้องรับภาระจากการตกเป็นแรงงานของเจ้าจักรวรรดิซ้อนทับเข้าไปอีก ชั้นในที่นี้ผู้เขียนเปรียบเสมือนการกัดกินตัวเอง เพื่อเพิ่มผลิตผลให้พอต่อความต้องการจากทั้งนายเก่าและนายใหม่

แอนโตนิโอ กรัมชี่ ได้นิยามความหมายของ Subaltern หรือ ใกล้เคียงกับ คนชายขอบ คือประชากรของอาณาจักรที่ถูกกีดกันออกจากอำนาจที่ถือครองโดยเจ้าจักรวรรดิทั้งทาง สังคม การเมือง และภูมิศาสตร์ หรือก็คือถูกกีดกันออกจากระบบอำนาจแบบสูงต่ำทั้งหมด เป็นเพียงทาสเพื่อใช้งานของเจ้าจักรวรรดิ ซึ่งเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เข้าขวางทับความสัมพันธ์แต่เดิมในระดับอาณาจักรกับผู้คนพื้นถิ่นนั่นเอง

*Subaltern หรือ คนชายขอบ อาจไม่ได้เป็นคนเขาคนดอย หรือชาวบ้านที่อยู่ตามชายแดนพื้นที่ห่างไกล อันที่จริงแล้วแม้แต่คนในเมืองทั่วไปก็ตกอยู่ในสภาวะความเป็น “คนชายขอบ” ไม่น้อยเนื่องจากถูกผลักออกไปจากประโยชน์ที่พึงแบ่งสรรปันส่วน และการได้รับการดูแลจากรัฐในฐานะชุมชนที่พึ่งพาอาศัยกันในระดับอาณาจักร

ตัวแทนของคนชายขอบในไทย ได้แก่ ชาวดอย กลุ่มมาเลย์มุสลิมทางตอนใต้สุด และกลุ่มขนาดใหญ่สุดถือเป็นประชากร 3 ใน 10 ส่วนของไทยคือชาวอีสาน

ถึงกระนั้นชาวอีสานไม่มีสิทธิต่อรองใดๆ บนผลประโยชน์ที่พวกเขาสร้างขึ้นในขณะที่กลุ่มผู้ถืออำนาจทั้งในทางวัฒนธรรมและการเมืองกลับถูกผูกมัดอยู่เพียงกับคนกรุงเทพเท่านั้น

ความพยายามของจักรวรรดิไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จจากอิทธิพลตะวันตก มักจะถูกเชิดชูในฐานะบุญคุณด้วยพระปรีชาสามารถด้านการทูตของกษัตริย์ รัชกาลที่ 4 และ 5 นั้นได้กอบกู้สยามจากเงื้อมมือตะวันตกอย่างปาฏิหาริย์ก็ว่า

หากตรึกตรองอย่างถ้วนถี่เราอาจต้องยอมรับว่าตัวแปรสำคัญในความพยายามของทั้ง 2 พระองค์นั้นประสบผลโดยมีโชคเป็นส่วนสำคัญ จากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการเมืองที่กำลังดำเนินไปด้วยดีขณะนั้นระหว่างอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส ประกอบกับในฐานะที่ไทยมีความเป็นรัฐกันชนที่ดี ซึ่งจะขอพูดถึงในโอกาสต่อไป

ผลลัพธ์คือไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้น ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมของเจ้าที่ดินศักดินาได้ต่อไป และยิ่งเป็นตัวเร่งให้เจ้าไทยมองเห็นโครงสร้างของเป้าหมายที่จะขยายอำนาจทางพรมแดนที่มีแนวโน้มว่าจะอยู่นอกเหนือความสนใจของเจ้าจักรวรรดิขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม สยามยังอ่อนแอมากในเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจขณะนั้นและไม่สามารถชักนำชุมชนที่อยู่ไกลออกไปในทางภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรม เข้ามาได้โดยง่าย ข้อแม้ดังกล่าวส่งผลให้ประชากรเหล่านี้กลายเป็น คนชายขอบที่ตกออกไปจากทัศนะที่จะพึ่งพาอาศัยกันระหว่างชุมชนกับรัฐไปโดยอัตโนมัติ เมื่อความสัมพันธ์ระดับชุมชนแต่เดิมนั้นเคลื่อนไปสู่คติแบบแผนที่ “สำหรับแบ่งแยกทรัพย์สินของรัฐชาติ” ในเวลาต่อมา หลายส่วนยังคงถูกกีดกันในฐานะคนนอกมาจนถึงปัจจุบัน

 

แปลก และยูโรฟาสซิสต์

พุทธศักราช 2475 อภิวัฒน์สยาม เป็นภาพแทนของความพยายามที่จะสร้างคติคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการเมือง(ของนายทุนกับคนขุนนาง ทหารและกษัตริย์) แม้ยังไม่ใกล้เคียงสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” ตั้งแต่นั้นทหารยังคงใช้กำลังเข้ารัฐประหารและควบคุมอาณาจักรทั้งหมดส่งผลให้นโยบายนั้นเน้นใช้ความรุนแรงแบบทหาร ในหลายครั้งได้ใช้การปราบปรามด้วยความรุนแรงต่อประชาชนที่ไม่เห็นด้วยอย่างจริงจังตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

จอมพล ป. หรือ แปลก พิบูลสงคราม เข้าสู่ช่วงเรืองอำนาจเมื่อเขาเข้ารับช่วงรัฐมนตรีกลาโหมต่อจาก พจน์ พหลโยธิน (พระยาพหลพลพยุหเสนา) ในปีพุทธศักราช 2481 พจน์ คือผู้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรีสำเร็จเป็นครั้งแรกในไทย เขาชื่นชมมุสโสลินี ผู้นำฟาสซิสต์ผู้ยิ่งใหญ่จากอิตาลี เช่นเดียวกับจอมพล ป. นี่เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้ใช้ระบบปกครองแบบรัฐอาณานิคมฟาสซิสต์ตามที่ท่าน ป. ได้ประสบจากการไปเรียนในยุโรปช่วง ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463)

ป. ได้นำเข้าวัฒนธรรมการปกครองแบบนิยมตัวบุคคล โดยบุคคลในที่นี้ก็คือตัวท่านแปลกนั่นเอง เพื่อก่อร่างโครงสร้างสังคมและการเมืองโดยรวมศูนย์สู่ความเป็น “ไทยภาคกลาง” วัฒนธรรมดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนอย่างดีของความเป็นอาณานิคมทางความคิดใต้แนวคิดฟาสซิสต์

การผลักไสคนที่ได้ชื่อว่า คนชายขอบ หรือ subaltern ออกจากผลประโยชน์ของรัฐ เป็นกระบวนการที่รู้จักกันในนามของการสร้าง “ความเป็นไทย” คือแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ (state-sanctioned racism ในปัจจุบันพบตัวอย่างได้ง่ายกว่า ในรูปแบบของชนชั้น เช่น คุกไม่ขังคนรวยเป็นต้น//ผู้แปล) ในกระบวนการยุติธรรมไทย

ตัวอย่าง https://wlrc.uic.edu/state-sanctioned-violence-against-black-women/
(ปรากฎการณ์ Black lives matter ในอเมริกาที่ตำรวจฆ่าคนดำถือเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบที่ดี ที่จริงแล้วปัญหาที่เกิดจากกระบวนการยุติธรรมในบ้านเราก็อาจจะมองเป็นปัญหาของระบบยุติธรรม มากกว่าที่จะเห็นว่าเป็นการทอดทิ้งโดยรัฐในคำศัพท์ต้นทาง)

ป. ในฐานะ “ผู้นำ” ท่านนำประเทศเข้าสู่สงครามกับ กลุ่มอินโดจีน เพื่อทวงคืนอาณาเขตที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสยามได้สำเร็จคือ พระตะบอง เสียมราฐ จำปาศักดิ์และบางส่วนของหลวงพระบางหรือล้านช้างในปัจจุบัน จากอาณานิคมอินโดจีนภายใต้ฝรั่งเศส จากความคึกคะนองของเขา ตามรอยปรมาจารย์ของเขา มุสโสลินี ในการบุกโจมตี อบิสสิเนีย เอธิโอเปีย สุดท้ายพ่ายแพ้ให้แก่กองกำลังร่วมของอังกฤษ และเอธิโอเปียอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1941

เมื่อโลกผ่านห้วงเวลาวิกฤตของสงครามโลกครั้งที่ 2 อำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วรุนแรงไปทั่วเอเชีย ไม่กี่ปีต่อมาเมื่อกองทัพของดังกล่าวมาถึงหน้าบ้านของไทย ป. ไม่รีรอที่จะเข้าสวามิภักดิ์ในพลัน อรุณรุ่งแล้วในแดนสยามนี้ ญี่ปุ่นได้ช่วยเจรจาในการรบชิงดินแดนที่ถูกเขาเอาไปมาคืนแด่ไทย (อินโดจีนโดยฝรั่งเศส) เป็นสัญญาแทนสัมพันธ์ใจไทย-ญี่ปุ่น

ตัวอย่าง

https://victorytale.com/th/thai-indochina-war/

https://www.blackpast.org/global-african-history/italo-abyssinian-war-1889-1896/

https://www.blackpast.org/global-african-history/second-italo-abyssinian-war-1935-1936/

ท่านผู้นำหลงใหลไปกับแสงสีของยูโรฟาสซิสซึ่มอย่างเข้าขั้น เห็นได้จากการสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประกาศชัยเหนือ อินโดจีน โดยออกแบบตามแนวทางของฮิตเลอร์และมุสโสลินี ได้ชื่อเป็นประติมากรรมแห่งฟาสซิสต์ในไทย

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยังคงตั้งตระหง่านอยู่ถึงทุกวันนี้ ชื่อนั้นถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อนำเสนอแก่ชาวต่างชาติในระบบประกาศของสถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ที่ประกาศชัยเหนือฟาสซิสต์ ขณะเดียวกับที่ถูกออกแบบโดยศิลปะฟาสซิสต์เสมือนเป็นสัญลักษณ์แทนความผูกพันที่มีต่อแนวคิดดังกล่าวที่แฝงฝังในคติคิดของคนไทยจนถึงทุกวันนี้

 

ราษฎรและความรุนแรงโดยรัฐ(เผด็จการ)

ส่วนใหญ่แล้วความรุนแรงโดยรัฐมักจะกระทำกับกลุ่มชายขอบชาวอีสาน ภาพเหมารวมต่อชาวอีสานที่สร้างโดยรัฐไทย เดิมภูมิภาคดังกล่าวเป็นถิ่นทุรกันดารอย่างสาหัส ทั้งป่าไม้และหนองน้ำ ถึงกระนั้นสยามก็ทุ่มทุนมหาศาลเพื่อที่จะเข้าไปใช้ทรัพยากรแรงงานอีสานรวมทั้งกวาดต้อนชาวลาวเข้าสู่อีสานด้วยในช่วงปี ค.ศ. 1827 (พ.ศ. 2370)

การบังคับเคลื่อนย้ายประชากรเป็นกิจกรรมที่แพร่หลายในกลุ่มเจ้าอาณานิคมยุโรป อย่างไรก็ตามยิ่งรัฐสยามดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเข้มข้นขึ้นมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มแรงต้านของชาวอีสานมากขึ้นตามไปด้วย เกิดการจลาจลโดยชาวนาลาว หรือกลุ่มชนพื้นถิ่นอีสาน จากการไม่ถูกยอมรับ หรือก็คือถูกมองเป็นทาสโดยมุมมองของรัฐไทยจึงไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ นำมาซึ่งความขัดแย้งที่แท้จริง

ตัวอย่างของการต่อต้านที่โดดเด่นที่สุดในช่วง ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) การขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในแถบนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) จนยุติลงในช่วง ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) พบว่าผู้ที่เข้าร่วมจับอาวุธขึ้นสู้กับรัฐไทยส่วนมากเป็นชาวอีสาน แม้ว่าจะมีการสงบศึกของรัฐไทยตามนโยบาย 66/23 โดยเปรมในช่วง พ.ศ. 2523 ชาวอีสานส่วนมากยังคงต่อต้านอย่างไม่ลดละจนถึงต้นศตวรรษ ที่ 21

ตัวอย่าง อนุสรณ์สถานวีรชนประชาชนอีสานใต้ ณ อำเภอปะคำ ตำบลโคกมะม่วง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นตัวแทนของชาวอีสานที่ลุกขึ้นสู้กับรัฐไทยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง

 

คนไม่เอารัฐ

อีสานไม่ใช่แค่กลุ่มเดียวที่ตกเป็นเหยื่อการคุกคามของจักรวรรดิไทย ดังที่ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับชนเผ่าลีซูในตอนต้น ชนกลุ่มน้อยหลากหลายเผ่ากระจายตัวทั่วหุบเขาล้วนหนีไม่พ้นการล่าอาณานิคมของไทยเช่นกัน กำแพงธรรมชาติของหุบเขาป่าไม้เป็นอุปสรรคที่ถ่วงเวลาจักรวรรดิไทยอยู่นานหลายสิบปี

เจมส์ ซี สก็อต นักมานุษยวิทยายืนยันว่าชาวเขาพยายามหลีกหนีจากการเข้าครอบงำโดยรัฐจักรวรรดิไทย ครั้นเมื่อเส้นชายแดนถูกระบุชัดเจน สยาม หรือไทยในเวลาต่อมาก็ได้อ้างสิทธิ์ครอบครองเหนือชุมชนเหล่านั้น ซึ่งเราเคยพูดถึงประเด็นนี้ไปแล้วในบทความ Nationalism and Anti-Statehood in Thailand

ชาวกะเหรี่ยงในแม่ฮ่องสอน

ชาวกะเหรี่ยงในแม่ฮ่องสอน

วิธีที่รัฐไทยมองและกระทำต่อชุมชนในชายแดนแม่ฮ่องสอนเหมือนกับที่จักรวรรดิยุโรปกระทำกับอาณานิคมของพวกเขา คือ จัดตั้งเป็นเมืองด่านหน้า เผยแผ่ศาสนา ส่งคนเมืองไปปกครองคนพื้นถิ่น(ในยุคบุกเบิก) ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการใช้กำลังทหารกดดันให้เกิดความกลมกลืนทางวัฒนธรรมหลักของจักรวรรดิกรุงเทพ ผ่านการควบคุมให้มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมของรัฐไทยอย่างเข้มงวด

 

สู่ชายแดนใต้

พื้นที่ติดชายแดนสามจังหวัดภาคใต้ (นราธิวาส, ยะลา, ปัตตานี) ย่อมประสบชะตากรรมเดียวกัน พื้นที่ดังกล่าวได้รับการยอมรับจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1912 (พ.ศ. 2455) โดยบริเวณดังกล่าวแต่เดิมเป็นถิ่นอาศัยของชาวมุสลิมมาเลย์ คล้ายกับดินแดนแถบชายแดนภาคเหนือที่วิถีชีวิตของคนเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวโยงกับความเป็นไทยตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา (ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรเกี่ยวข้อง แต่ชุมชนเหล่านั้นล้วนมีแนวทางของตัวเองที่ถูกบังคับให้เปลี่ยนตามข้อแม้ที่ไม่ได้สอดคล้องกับวัฒนธรรม หรืออรรถประโยชน์ของพวกเขาเอง//ผู้แปล)

ตั้งแต่ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ในพื้นที่ 3 ชายแดนใต้และสงขลาจึงเกิดการต่อต้านรัฐไทยอย่างหนักสืบเนื่องถึงปัจจุบัน (หรือที่ถูกรัฐขนานนามว่าเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้) ความไม่พอใจแสดงออกมาต่อสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เป็นตัวแทนรัฐไทย เช่นโรงเรียนรัฐ(ไทย) และบุคลากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันของรัฐ (ผู้แปล//เช่นบุคลากรทางศาสนา หรือพระ)

เหตุวางระเบิดโดยกลุ่มติดอาวุธอยู่เนืองๆ นั้น เหยื่อล้วนเป็นตัวแทนของความเป็นรัฐไทย โดยเฉพาะค่ายทหารหรือจุดตรวจการณ์ สถานที่ราชการ อาจารย์ที่ถูกนำเข้ามาเพื่อสอนหลักสูตรมาตรฐานของรัฐไทยกลาง

ปัจจุบันไทยใช้กำลังทหารอย่างหนักหน่วงจนอาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกยึดครองโดยกำลังทหารอย่างเปิดเผย (ผู้แปล//ช่วงปีพ.ศ. 2562 ผมมีโอกาสได้ไปในพื้นที่ดังกล่าว สังเกตเห็นยานเกราะลาดตระเวนพร้อมติดตั้งปืนกลหนัก M60 ตามจุดตรวจ และเส้นทางหลักให้เห็นเป็นปกติ ทั้งสังเกตเห็นมีเส้นทางโครงการตัดถนนเข้าสู่พื้นที่ธรรมชาติเขตป่าเขาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าเพื่อจะทำให้กลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงไม่มีที่หลบซ่อนทางธรรมชาติอีกต่อไป)

ข้อเรียกร้องต่อรองจากชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพียงการขอใช้หลักสูตรทางการศึกษาของท้องถิ่นเอง มีเพียงส่วนน้อยที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ทว่าไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องใดๆ รัฐไทยไม่สู้จะสนใจเรื่องต่างๆ จากชุมชนนัก ไม่มีการประนีประนอมในแนวทางการยัดเยียดความเป็นไทย รัฐมองชาวบ้านเป็นอาณานิคม, เมืองหน้าด่าน หรือเมืองกันชนของตน ประเทศกรุงเทพคิดอย่างง่ายๆ เพียงแค่ว่าอะไรก็ตามที่ตกอยู่ในเส้นกั้นอาณาเขตของประเทศไทยก็คือทรัพย์ของไทยกรุงเทพ

ตัวอย่าง

https://www.voanews.com/a/usa_how-afghanistan-withdrawal-looks-south-korea-americas-other-forever-war/6209777.html

(ตัวอย่างการเข้าไปกดดันด้วยกำลังทหารแน่นอนว่าทางอเมริกาไม่ได้ประกาศตนว่าใช้กำลังทหารเข้ามาควบคุมรัฐต่างๆ เหล่านี้โดยอาจอ้างว่าช่วยปกป้องจากภัยเผด็จการ ก่อการร้าย ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ากำลังทหารเหล่านั้นเองคือเครื่องมือกดดันต่อตัวเกาหลีใต้โดยตรงในการต่อรองกับอเมริกาเช่นกัน//ผู้แปล)

ชาวมุสลิมในประเทศไทย

 

ชาวมุสลิมจากมาเลย์ในรัฐต่างแดน ในฐานะคน(ในครอบครองของ)ไทย

เราจะสังเกตเห็นว่ารัฐไทยมองคน, ชุมชนในปกครองโดยทั่วไปของพวกเขาเหมือนกับตัวอย่างข้างต้น ซึ่งนั่นหมายความว่าแนวคิดแบบ “จักรวรรดินิยม” นั้นเป็นแนวทางที่ฝังลึกอยู่ในวิธีคิดของอาณาจักรไทย นำไปสู่การกำหนดนโยบายที่มีหลักชัยไม่พ้น “การพิชิต” เพื่อให้เหล่าทาสในอาณานิคมสร้างผลิตผลอยู่ภายใต้ผลประโยชน์ของ “ประเทศกรุงเทพ” มากกว่าประโยชน์ของตัวพวกเขาเองเหมือนๆ กับที่เจ้าจักรวรรดิตะวันตกทำตลอดมา

เมื่อเข้าสู่ยุคสงครามเย็น การล่าอาณานิคมขนานใหญ่โดยเจ้าจักรวรรดิต่างๆ ถึงคราวซบเซาลงทั้งด้วยความบอบช้ำจากสงครามโลก และสงครามเย็นที่สืบเนื่องกันมา ทว่าไทยนั้นไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจึงยังคงดำเนินการล่าเมืองขึ้นสู่เหนือ ใต้ อีสาน และในพื้นที่ที่ยังตกหล่นอยู่อย่างไม่ลดละ แนวทางแบบฟาสซิสต์คลาสสิคมุ่งเน้นการขยายดินแดนทั้งล้าหลังไร้การพัฒนาทางความคิดความเข้าใจต่อบริบทการเมืองที่เปลี่ยนแปลงซึ่งยังคงเป็นแนวทางหลักของรัฐไทยจวบจนปัจจุบัน

 

อ่านเพิ่มเติม

Ethnicity, Borders, and the Grassroots Interface with the State: Studies on Southeast Asia in Honor of Charles F. Keyes by John A. Marston, 2014 Silkworm Books

The Art of Not Being Governed: An Anarchist History of Upland Southeast Asia by James C. Scott, 2009 Yale University Press

Subaltern Social Groups: A Critical Edition of Prison Notebook 25 by Anthonio Gramsci, Columbia University Press