ในวันแรงงานสากล 1 พฤษภาคม หรือ International Workers’ Day ที่นิยมเรียกติดปากกันว่าวัน “May Day” เป็นวันที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองของ “ชนชั้นแรงงาน” อาจเรียกได้ว่ามันเป็นวันของพวกเราทุกๆ คนที่เป็นแรงงาน เราอาจจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า “ฉันไม่ได้แบกอิฐแบกปูน ฉันทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ฉันจะเป็นชนชั้นแรงงานได้ยังไง?”
“มันเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น ไม่มีวิธีอื่นแล้วจริงๆ”: สัมภาษณ์แอดมิน ‘ทะลุแก๊ซ’
สัมภาษณ์แอดมินเพจทะลุแก๊ซ กลุ่มผู้ชุมนุมจากแยกดินแดง กรุงเทพฯ ที่ออกมาต่อสู้ปะทะกับตำรวจอย่างไม่หยุดหย่อน พวกเขาเป็นแค่เด็กวัยรุ่นเลือดร้อนเท่านั้นหรือเปล่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ทะลุแก๊ซแตกต่างจากกลุ่มชุมนุมอื่นๆ และทำไมพวกเขาถึงมองว่ามันคือความชอบธรรมแล้วในการออกมาต่อสู้กับตำรวจด้วยวิธีที่หลายคนคิดว่ามันคือความรุนแรง
สีน้ำเงินปะทะสีกากี เจ้าหน้าที่รัฐกับความไม่เดียงสา
ข่าวเด่นประเด็นร้อนวันนี้ คงหลีกไม่พ้นกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้แสนอ่อนแอ ถูกสาดสีน้ำเงินเปรอะเปื้อนชุดสีกากีพระราชทานไปเสียมิได้ เราทุกคนต่างรู้ดีไม่ใช่หรือว่าคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจเหล่านี้ก็เป็นมนุษย์เหมือนเรา มีลูกมีหลาน มีครอบครัว ต้องรับใช้นายตามคำสั่ง ปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด แล้วเหตุใดเล่า ความโกรธแค้นที่กระทำไปในนามของศิลปะ จึงต้องไปทำร้าย ทำลาย ชุดพระราชทานเหล่านั้นด้วย?
ชูสามนิ้วไม่ผิดกฎหมาย แต่ครูทำร้ายนักเรียนมีความชอบธรรม: โรงเรียนไทยกับความผิดที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์
สังคมอุดมอำนาจนั้นให้ความชอบธรรมแก่ครูในการลงทัณฑ์โดยวิธีใดก็ได้โดยไม่คำนึงถึงกฎระเบียบ เช่น การตัดผมนักเรียนทั้งชายและหญิงเมื่อพบว่าทรงผมของพวกเขาผิดระเบียบ อันที่จริงกฎระเบียบว่าด้วยทรงผมก็เปลี่ยนมานานแล้ว แต่บังเอิญว่าตัวกฎระเบียบเองก็ไม่ถูกต้องตาม ‘ลักษณะในอุดมคติ’ ครูจึงสามารถลงโทษนักเรียนได้ตามที่พวกเขาเห็นว่าเหมาะสม ไม่มีใครเอาผิดครูที่ตัดผมนักเรียนได้ แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการก็ตาม
บทวิพากษ์ว่าด้วยประชาธิปไตยปากว่าตาขยิบ และบริษัทที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัย
สิ่งที่คณาจารย์ นักการเมืองและผู้บริหารมหาวิทยาลัยพึงกระทำก็คือ ต้องยืนยันในสิทธิ ดังกล่าวของนักศึกษาด้วยการออกมาปกป้องพวกเขา โอบอุ้มพวกเขา สนับสนุนพวกเขาและถึงที่สุดแล้วคือเข้าร่วมกับพวกเขา มิใช่การผลักไสและตัดช่องน้อยแต่พอตัว