การอ่านเรื่องแรงงานแบบมาร์กซิสต์นั้นทำให้เราเห็นว่า แรงงานทุกคนต่างถูกกดขี่จากชนชั้นกลาง-กระฎุมพี อย่างไรก็ตาม แรงงานและงานมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่ได้ค่าตอบแทนและแบบที่ไม่ได้ค่าตอบแทน อย่างคนทำความสะอาดในออฟฟิศได้รับเงินเดือนปกติ แต่ผู้หญิงที่ทำความสะอาดบ้านกลับไม่ได้ แม้จะทำงานเหมือนกัน ฉะนั้นแล้ว หากจะดูว่าแรงงานในบ้านถูกเอาเปรียบอย่างไร เราต้องลองใช้แนวคิดวิพากษ์แบบมาร์กซ และนี่คือ เฟมินิสต์ที่มีสำนึกทางชนชั้น
อเล็กซานดรา คอลอนไท (ตอนที่ 1) :การต่อสู้เพื่อเฟมินิสต์กรรมาชีพและผู้หญิงในพรรค
คอลอนไทเป็นมาร์กซิสต์ที่มุ่งมั่นจัดตั้งแรงงานหญิง เธอเถียงว่าการกดขี่ผู้หญิงนั้นฝังรากอยู่ในเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ คือ “การผลิตและการผลิตซ้ำของชีวิตในขณะนี้” ผลคือการปลดแอกผู้หญิงขึ้นอยู่กับการถอนรากถอนโคนทุนนิยม สังคมชนชั้นและการเอาเปรียบ และการจัดสรรการผลิตและชีวิตใหม่ของคอมมิวนิสต์
การยืนหยัดต่อต้านเหมืองถ่านหินของชาวอะบอริจินในออสเตรเลีย
การต่อต้านเหมืองถ่านหินของบริษัทอดานีคือการต่อสู้เพื่อทวงคืนเแผ่นดินของเหล่าชนพื้นเมืองอย่างอะบอริจินเผ่าวันกัน (Aboriginal Wangan) และจากาลิงกู (Jagalingou) แม้จะเจอกับอุปสรรคมากมายจากทั้งนักการเมือง ชั้นศาล และกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม แต่กลยุทธ์ของพวกเขาใช้ในการต่อต้านนั้นสอนให้เรารู้ว่า สายใยอันลึกซึ้งของพวกเขาที่มีต่อผืนแผ่นดิน รวมถึงวัฒนธรรมชนพื้นเมืองนั้นมีพลังในการขับเคลื่นเพื่อทวงถามสิทธิ์ในผืนดินของพวกเขากลับคืนมาจากนักแสวงหากำไรที่ไม่ไยดีต่อธรรมชาติและโลกใบนี้
เผด็จการฟาสซิสต์ยุโรปแบบไทย ๆ
ด้วยคำสั่งปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม รัฐนิยม 12 ข้อได้ถูกประกาศใช้ ซึ่งคำสั่งนี้ประกอบด้วยทั้ง เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย เรื่องภาษาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมืองดี รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันว่าควรกินหรือนอนอย่างไรเวลาเท่าใด ซึ่งในเมื่อก่อนนั้นถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ ทั้งข้อต่าง ๆ ในประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับทุกสิ่งเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างนิยามความเป็นไทยของตัวเองและเผยแพร่ความเป็นไทยไปทั่วแผ่นดิน