แปล & ภาพหลัก Napakorn Phoothamma
บรรณาธิการ Sarutanon Prabute, กุลณัฐ จิระวงศ์อร่าม

ในปี พ.ศ. 2473 ประเทศไทยพยายามสร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง (homogeneity) ตามแบบของเผด็จการฟาสซิตแบบตะวันตก การสร้างอัตลักษณ์นี้เองถูกนำมาใช้กับระบบกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2493  และก่อให้เกิดฉันทามติฝ่ายขวาทรงอิทธิพลมากว่าครึ่งทศวรรษ แต่อย่างไรก็ตาม การประท้วงในช่วงที่ผ่านมาหลายส่วนก็ไม่ได้ตระหนักถึงแนวโน้มเผด็จการฟาสซิสต์แบบยุโรปที่ฝังลึกในขณะที่ท้าทายรัฐไทยในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2481 เมล็ดพันธุ์แห่งเผด็จการฟาสซิสต์ได้เติบโตขึ้นในประเทศไทยจากการเรืองอำนาจของ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นยุคแห่งการนำประเทศไปสู่ความทันสมัย โดยจอมพล ป. ใช้เวลาตลอด 6 ปีนั้นเองปรับเปลี่ยนไปสู่ประเทศที่ทัดเทียมอารยประเทศตามแบบของเขา จอมพล ป. จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยที่ฝรั่งเศสที่ที่เขาเองได้ซึมซับและชื่นชมความเป็นเผด็จการชาตินิยมฟาสซิสต์ (ซึ่งในยุคนั้นเป็นแนวคิดใหม่) จากที่นั่นเอง เขายังชื่นชอบมุสโสลินี และน่าจะถึงขึ้นนำภาพของผู้นำฟาสซิสต์ไปไว้บนโต๊ะทำงานเมื่อได้ปกครองประเทศไทย

จอมพลป. นั้นได้เติบโตกลางใจกลางเมืองสยามในปี พ.ศ. 2440 จากครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งต่อมาเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยได้เดินทางไปศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ ต่อที่ ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แนวคิดแบบฟาสซิสต์ถือว่าเป็นแนวคิดที่ก้าวหน้า เนื่องด้วยเป็นแนวคิดที่นำพาความเป็นสมัยใหม่และความเข้มแข็งมาสู่ประเทศ ทำลายระบบเจ้าขุนมูลนายและสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในชาติและวัฒนธรรมชาติพันธุ์ชาตินิยม (ethnonationalist) โดยอำนาจของรัฐแบบบนลงล่าง ในช่วงเวลานี้เองที่อาทาทืร์คในตุรกีและมุสโสลินีในอิตาลีได้รับความนิยมถึงขีดสุด อิทธิพลจากผู้นำเหล่านั้นได้สร้างแรงบันดาลใจแก่ จอมพล ป. ในวัยหนุ่มนั่นเอง

ประเทศไทย (หรือสยามในช่วงนั้น) ที่เขาหวนกลับคืนมาอีกครั้งในช่วงปลายยี่สิบ ช่างดูห่างไกลจากประเทศฟาสซิสต์ตามที่เขาวาดฝันเหลือเกิน สยามเป็นประเทศที่พึ่งรอดพ้นจากการล่าอาณานิคมตะวันตก มีความแตกต่างอย่างสุดขั้ว ถูกแบ่งเป็นส่วนๆ เนื่องด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ ทำให้การปกครองอย่างเป็นปึกแผ่นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มในฤดูฝนและในที่สูงตลอดทั้งปี

อย่างไรก็ตาม การล่าอาณานิคมของยุโรปเองก็ได้ส่งอิทธิพลต่อการสร้างเขตแดนของประเทศ ฝรั่งเศสล่าอาณานิคมในด้านตะวันออกและอังกฤษล่าอาณานิคมของในด้านตะวันตกและทางใต้ สยามไม่ได้กำหนดเขตแดนของตัวเอง แต่เขตแดนมาจากการล่าอาณานิคมมากกว่า แต่ไม่ว่าประชากรกลุ่มใดก็ตามที่ลงหลักปักฐานอยู่ที่เขตแดนนั้น แม้พ้นจากการครอบงำของชาติตะวันตกก็ยังต้องต่อสู้กับรัฐสยามอยู่ดี หลังรอดพ้นการล่าอาณานิคมอย่างหวุดหวิด รัฐสยามแบบระบบเจ้าขุนมูลนายก็ได้ปฎิรูปตัวเองก่อนหน้าหลายทศวรรษ รัฐสยามพยายามเปลี่ยนตัวเองให้เป็นประเทศสมัยใหม่เพื่อให้ทัดเทียมกับอารยประเทศตะวันตก แต่อย่างไรก็ตามรัฐสยามเองก็ไม่ได้เข้มแข็งและยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมมากนัก อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่ก็ยังอาศัยอยู่ในชนบท บางครั้งต้องใช้เวลานานนับหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนกว่าคนชนบทเหล่านี้จะเข้าถึงขอบนอกของราชอาณาจักรจากมหานครหลวงกรุงเทพ

ด้วยปัจจัยดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นเฉพาะ (localised communities) และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์หรือภูมิภาคยังคงอยู่ทั่วทั้งสยามโดยไม่มีการแทรกแซงจากรัฐมากนัก อย่างไรก็ตาม การแสดงออกอย่างอิสระหรือการปกครองในท้องถิ่นไม่ได้มาจากการที่รัฐอนุญาติให้มีด้วยความเมตตา แต่มาจากความอ่อนแอของรัฐสยามเองในการจัดการ ทั้งยังไม่มีความเด็ดขาดเรื่องโครงสร้างอุดมการณ์ความเป็นหนึ่งเดียวของอัตลักษณ์ชาตินิยมของตัวเอง ณ ขณะนั้น

เหตุนี้เองจึงทำให้สยามเป็นประเทศที่มีความแตกต่าง ด้วยความหลากหลายของแต่ละพื้นเมือง ทั้งภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิตและสถาบันทางการเมือง แม้ในทุกวันนี้ความหลากหลายในรูปแบบนี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่ ประเทศไทยใช้ภาษาพื้นเมืองกว่า 60 ภาษาซึ่งยังไม่รวมสำเนียงภาษาถิ่นอีกนับไม่ถ้วนที่เมื่อมองผ่านประวัติศาสตร์แล้วคงมีจำนวนมากกว่านี้

การรวมตัวของนายทหารหัวก้าวหน้าอย่าง คณะราษฎร ที่ จอมพล ป. ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการทำรัฐประหารด้วยในปี พ.ศ. 2475 เปลี่ยนกษัตริย์ให้ลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและคงไว้เพียงชื่อ หลังจาก 6 ปีแห่งความวุ่นวาย กลุ่มหัวก้าวหน้าได้สลายตัวลง จอมพล ป. ได้กลายเป็นผู้นำจอมเผด็จการของประเทศไทยโดยพฤตินัยในปี พ.ศ. 2481 เขาเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทยในปีต่อมาด้วยความตั้งใจในการสร้างความเป็นชาติพันธุ์ชาตินิยม (ethnonationalist)

หมุดทองเหลืองถูกติดตั้งเพื่อระลึกถึงรัฐประหารปี 2475

ในระหว่างการดำรงตำแหน่งของ จอมพล ป. เขาได้สร้างเอกลักษณ์เฉพาะแบบฟาสซิสต์ของเขามากมาย จอมพล ป. ได้จัดให้วันเกิดของตนเป็นวันหยุดประจำชาติและต่อมาได้ทำเช่นเดียวกัน กับบุตรและภรรยาของเขา การเฉลิมฉลองวันหยุดในช่วงนั้นส่วนมากมักจะเป็นการเดินพาเหรดทหารในเมืองใหญ่ จอมพล ป. เองยังส่งเสริมให้ผู้คนแขวนรูปของเขา ซึ่งก็เป็นอะไรที่น่าขำเพราะวิธีการดังกล่าวก็ถูกส่งต่อไปยังสถาบันกษัตริย์เช่นกัน เขายังตั้งยุวชนทหารด้วยแต่ก็ไม่ได้เหมือนกับยุวชนทหารของฮิตเลอร์ไปซะทีเดียว โดยทั่วไปแล้ว จอมพล ป. พยายามจะสร้างวัฒนธรรมแบบบูชาตัวบุคคลตามเหล่าเพื่อนๆ ประเทศฟาสซิสต์ยุโรปนั่นเอง ซึ่งหมายถึงการกำกับดูแลควบคุมสื่อและการเผยแพร่วัฒนธรรมอย่างเคร่งครัด

โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อในยุคสมัย จอมพล ป.

การแปลงโฉมไทยใหม่

นโยบายการแปลงโฉมไทยใหม่ โดย จอมพล ป. หรือการปฎิวัติวัฒนธรรมไทยคือการเปลี่ยนโฉม พยายาม นิยาม และสร้างความเป็นไทยตามที่เขาเห็นควรจะเป็น การนิยามความเป็นไทยนั่นหมายถึงความเป็นที่มาจากศูนย์กลางประเทศ เน้นวัฒนธรรมชนชั้นนำทหารซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเป็นเวลานับทศวรรษ

คำสั่งปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม รัฐนิยม 12 ข้อ ได้ถูกประกาศใช้ ซึ่งคำสั่งนี้ประกอบด้วยเรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทยตามตะวันตก ภาษาไทยมาตรฐาน ห้ามแสดงออกอัตลักษณ์ภูมิภาค รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันว่าควรกินหรือนอนอย่างไรเวลาเท่าใด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแปลกในหลายๆ ครั้ง แต่ประกาศฉบับนี้บังคับใช้กับทุกสิ่งเท่าที่จะเป็นไปได้  ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างความชัดเจนนิยามความเป็นไทยของตัวเองและเผยแพร่ความเป็นไทยไปทั่วแผ่นดิน

แน่นอนว่ามันทำให้อัตลักษณ์ของภูมิภาคลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในชาวพุทธที่ราบภาคกลาง ขณะที่ชาวมุสลิมที่อยู่ในหมู่คนยาวีเชื้อสายมาเลในภาคใต้ก็ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้เช่นกัน มัดเราะซะฮ์ (สถานศึกษา) ถูกสั่งปิดและมุสลิมถูกห้ามไม่ให้สวมใส่เครื่องแต่งกายตามวัฒธรรมของตน ด้วยเหตุนี้เอง ต่อมากลุ่มยาวีได้ต่อมาได้ตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐขึ้น ซึ่งปัจจุบันกองกำลังต่อต้านรัฐนั้นยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้

ผลกระทบของประกาศฉบับนี้ส่งผลไปยังอีสานด้วยเช่นกัน ประชากรส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วเป็นคนเชื้อชาติลาว ซึ่งเป็นลูกหลานของประชากรที่ตั้งรกรากเมื่อร้อยปีก่อนหน้า ทั้งในอดีตและปัจจุบันคนอีสานไม่ได้ถูกกลืนกินอย่างสมบูรณ์โดยรัฐ ชาวเวียดนามส่วนน้อยในพื้นที่โดยรอบก็เช่นเดียวกัน จนกระทั่งวันนี้ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่ยากจนที่สุดในประเทศ และเป็นที่รู้จักในฐานะวัฒนธรรมท้องถิ่นเฉพาะ มีประชากรที่หัวแข็งและเกลียดชังการบริหารจัดการของกรุงเทพ

การแต่งกายของชาวอีสานในช่วงก่อนการแปลงโฉมไทยใหม่

การกลืนกลายทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มุ่งเป้าเพียงวัฒนธรรมเท่านั้น นโยบายดังกล่าวยังต้องการใช้ประโยชน์กลุ่มคนที่แต่ก่อนไม่ได้มีประโยชน์ต่อรัฐเท่าไร หากถูกรวบและรวมเข้ามาในสังคมไทยจะได้ใช้งานเพื่อพัฒนารัฐศูนย์กลาง ผ่านทั้งการเกณฑ์ทหารและการจัดเก็บภาษี สร้างความแข็งแกร่งให้แก่อำนาจศูนย์กลาง

อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยในช่วงเวลาดังกล่าว แม้จะมีความพยายามเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ปัญหาทางภูมิศาสตร์ยังคงมีอยู่ดังเช่นเคย ประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในประเทศก็ยังไม่ได้เข้าถึงความเป็นรัฐ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธ์ส่วนน้อย “คนดอย” ที่อาศัยอยู่ตามชายแดนซึ่งนั่นรวมถึง กระเหรี่ยง เผ่าลีซู เผ่าอ่าข่าและเผ่าม้ง ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงกลุ่มใหญ่ที่เห็นได้ชัดเป็นตัวอย่างเท่านั้น กลุ่มคนดังกล่าวนั้นเองแตกต่างจากคนไทยทั้ง พูดภาษาของพวกเขา และมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อศาสนาและสถาบันต่างๆ ในสังคมของตัวเอง

การขยายอำนาจและสงคราม

ในปี พ.ศ. 2483 จอมพล ป. ได้เห็นโอกาสที่จะขยายอำนาจแนวคิดฟาสซิสต์ชาตินิยมของเขาด้วยการนำประเทศเข้าสู่สงครามด้วยความกระหายสงคราม ในช่วงการเจรจาสนธิสัญญาเขตแดนในยุคสยาม สยามได้ยกดินแดน อินโดจีน ให้แก่ฝรั่งเศสซึ่งปัจจุบันประกอบไปด้วย ลาวและกัมพูชา ต่อมาเมื่อแผ่นดินฝรั่งเศสตกอยู่ใต้อำนาจของประเทศอักษะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จอมพล ป. ได้ตัดสินใจส่งกองกำลังรุกล้ำเขตแดนและเรียกดินแดนคืนแก่ไทย

ความกระหายสงครามนี้เป็นจุดเด่นของ จอมพล ป. เลยก็ว่าได้ซึ่งเขาได้รับอิทธิพลจากยุโรป โดยเฉพาะจากนาซีเยอรมันซึ่งก็เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการรุกรานเขตแดนศัตรูของ จอมพล ป. ซึ่งแน่นอนจอมพล ป. ได้เรียก ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ว่าเป็น “พันธมิตรที่ทรงปัญญา” สงครามนี้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในกรุงเทพมหานคร กองทัพไทยได้ประโยชน์มากเมื่อฝรั่งเศสอ่อนกำลังลงเพราะสูญเสียอำนาจไปตั้งแต่โดนนาซีบุกยึด

อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งได้รุกรานเข้ามาในแทบอินโดจีนอย่างหนักได้ยื่นข้อเสนอให้ทั้งสองฝ่ายสงบศึกกัน ซึ่งเข้าทางประเทศไทยเป็นอย่างมาก การทำเช่นนี้กรุยทางให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานอย่าง (เกือบ) ไม่มีพิษมีภัย การที่ญี่ปุ่นตั้งฐานทัพในไทยส่งผลให้ไทยต้องเข้าร่วมฝ่ายอักษะ

หลังจากการสงบศึกกับฝรั่งเศส จอมพล ป. ได้ประกาศชัยชนะและได้สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิบนใจกลางเมืองกรุงเทพตามแบบฉบับของ สถาปัตยกรรมแบบฟาสซิสต์ จจนถึงปัจจุบันได้เป็นสถานที่สำคัญของกรุงเทพ

การที่ประเทศนั้นเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิญี่ปุ่นนั้นเองทำให้ จอมพล ป. ได้อยู่ในอำนาจต่อไปในช่วงที่ญี่ปุ่นยังยึดครองประเทศไทยอยู่ อย่างไรซะ เมื่อสงครามยุติ จอมพล ป. ได้ถูกขับไล่จากทหารที่ฝักใฝ่ฝั่งพันธมิตรเมื่อเห็นว่าท่าทีของสงครามเปลี่ยนไป

เนื่องด้วยแรงกดดันจากสหรัฐสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังสงครามนั่นเอง ตะวันตกจึงไม่นับประเทศไทยว่าเป็นประเทศฝ่ายอักษะ เนื่องด้วยชาติตะวันตกเห็นประเทศไทยนั้นมีประโยชน์ในการตั้งฐานทัพต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกลับมาของระบบกษัตริย์

ในช่วงการครองอำนาจของ จอมพล ป. เขามีความพยายามที่จะขจัดครอบครัวราชวงศ์ ทั้งในแผ่นดินไทยและที่อยู่ต่างประเทศ (ซึ่งนั่นรวมถึงพระเจ้าอยู่หัว) ซึ่งบางรายก็ถูกคุมขัง เขาได้ตัดงบประมาณของราชวงศ์ออกและส่งเสริมแนวคิดพุทธศาสนาเพื่อทำลายความศักดิ์สิทธิของสถาบันกษัตริย์ซึ่งสืบเนื่องยาวนานตั้งแต่ยุคก่อนเจ้าขุนมูลนาย

ณ อีกฟากโลกหนึ่ง กลางยุโรป อย่างไรซะ แผนการต่อกรให้ประเทศออกมาจากเงื้อมมือพวกสาธารณรัฐนิยมก็เริ่มก่อตัว กว่าทศวรรษที่ต้องอยู่เพียงชายขอบของการเมืองไทย สถาบันกษัตริย์ได้วางแผนที่จะกลับมาครองอำนาจราชอาณาจักรอีกครั้งแม้จะถูกเนรเทศอยู่ในยุโรป ในยุคหลังจากจอมพล ป. ราชวงศ์สบโอกาสในช่วงที่สมาชิกในคุกถูกปล่อยตัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 20 ปี และน้องชายคนเล็กภูมิพลอดุลยเดชกลับมายังกรุงเทพ และครอบครองตำแหน่งในพระราชวังท่ามกลางเงาของรัฐเผด็จการทหารฟาสซิสต์

ในช่วงความปั่นป่วนหลังสงครามโลกครั้งที่สองเกิดความพยายามก่อตัวอย่างเงียบๆ ของราชวงศ์ ในปี พ.ศ. 2489 เมื่อนักคิดหัวประชาธิปไตยก้าวหน้าอย่าง ปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปรีดีพยายามสร้างอำนาจในการปกครองประเทศของตัวเองโดยการสร้างความสัมพันธ์กับเชื้อพระวงศ์วัยเยาว์นี้

ในยุคแห่งความศรัทธาต่อสถาบันกษัตย์ โดยเฉพาะกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการสร้างความนิยมระบบกษัตริย์และกษัตริย์วัยเยาว์ให้เป็นที่รู้จัก กลุ่มกษัตริย์นิยมได้แปลงวิธีการสร้างชาติแบบชาตินิยมของ จอมพล ป. มาใช้กับราชวงศ์ ผ่านทั้งศาสนาและความเชื่อระบบกษัตริย์กับความเป็นไทย

เพียงแค่ 4 เดือนหลังจากการครองดำแหน่งของปรีดี พนมยงค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลก็สวรรคต ซึ่งเหตุของการสวรรคตนั้นถูกสันนิษฐานว่าเกิดจากพระองค์เล่นพระแสง ณ พระราชวัง (ซึ่งก็มีข่าวลือมากมายเกี่ยวกับการสวรรคตของพระองค์จนถึงทุกวันนี้) ข่าวลือสะพัดไปทั่วกรุงเทพฯ ปรีดีเป็นคนรับข้อกล่าวหาและลาออกจากตำแหน่งไม่นานหลังจากนั้น และภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จอมพล ป. ได้รัฐประหารและคืนอำนาจของตน อย่างไรซะการกลับมาสู่อำนาจในครั้งนี้เองมีความแตกต่างจากครั้งก่อน จอมพล ป. รู้ดีว่ามีสถาบันกษัตริย์ครองอำนาจอยู่ด้วย จอมพล ป. จึงไม่สามารถที่จะควบคุมประเทศได้อย่างเต็มที่จึงต้องเข้าจัดการควบคู่ทั้ง สถาบันกษัตริย์ที่พึ่งสถาปนาอำนาจของตนเองได้และอดีตพันธมิตรสาธารณรัฐของเขา ด้วยเหตุนี้เองจึงนำไปสู่การพยายามทำรัฐประหารหลายครั้ง รวมไปถึงการลักพาตัว (โดยกลุ่มกบฏแมนฮัตตัน) ซึ่ง จอมพล ป. ได้ถูกลักพาตัวโดยเจ้าหน้าที่กองทัพเรือไทย ซึ่งทำให้เขาต้องว่ายน้ำเพื่อหลบหนีกลับมา

ฉันทามติภูมิพล และ สัจนิยมกษัตริย์

การเข้ามามีอำนาจเป็นครั้งที่สองของ จอมพล ป. ครองตำแหน่งนานนับทศวรรษได้เล่นเกมการเมืองกับขั้วอำนาจใหม่และสร้างสัจนิยมผ่านทั้งรัฐบาล กองทัพ และราชวงศ์ ความพยายามนี้สะท้อนผ่านสิ่งที่เรียกว่าความเป็นไทยและอยู่ที่ว่าใครเป็นตัวแทนความเป็น “คนไทย” ได้ดีที่สุด

ซึ่งแน่นอนว่าสถาบันกษัตริย์นั้นได้ครองอำนาจนำอย่างที่สุดโดยการเข้ามาของจอมพลผู้ภักดีอย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้ทำการรัฐประหารจอมพล ป. ในปี พ.ศ. 2500 และได้สร้างความเป็นชาตินิยมไทยในรูปแบบใหม่ซึ่งได้วางสถาบันกษัตริย์ให้เป็นหัวใจสำคัญของความเป็นไทยและให้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงตำแหน่งประมุขของรัฐ

นี่เองคือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่ายุคแห่ง “ฉันทามติภูมิพล”  ซึ่งใครก็ตามที่มีหัวเอียงไปในทางสาธารณรัฐจะถือว่าเป็นพวกนอกคอกและ “ชังชาติ” กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกนำกลับมาใช้ในการต้านนักการเมืองฝ่ายค้านและทางราชวงศ์เองก็ได้สร้างความสัมพันธ์ต่อสาธารณะโดยมุ่งเป้าไปที่คนไทยใต้ปกครอง และหลังจากนั้นก็ค่อยๆ เน้นคนส่วนน้อยที่อยู่ชายขอบในพื้นที่ห่างไกลอำนาจมาเป็นศตวรรษ

ยุคฉันทามติภูมิพลคงอยู่ยาวจนกระทั่งวันที่กษัตริย์ภูมิพลสวรรคตในปี พ.ศ. 2559 ตลอดการครองราชย์ 60 ปีนั้นเองไม่มีอำนาจใดนั่นมาต่อต้านอำนาจของกษัตริย์ภูมิพลรวมถึงราชวงศ์อย่างจริงจัง ซึ่งทาง ดินแดงได้เขียนบทความเกี่ยวเรื่องนี้ไว้ใน Royalist Realism & Les Majeste

ในยุคฉันทามติภูมิพลนั้น แม้จะมีการเปลี่ยนผู้นำประเทศจากจอมพลเป็นกษัตริย์ จักรรรดินิยมแบบไทยยังคงขยายอำนาจและความเป็นไทย เพียงแต่มีกษัตริย์ภูมิพลเป็นภาพจำ หากนำนโยบายมาพิจารณากับนโยบายของ จอมพล ป. และการสถาปนาอำนาจของกษัตริย์นี้ก็ไม่ได้มีอะไรต่างกันมากนัก ทั้งสองมีความเป็นทหารนิยม กระหายอำนาจ และชาตินิยม ซึ่งต่างก็เป็นเจ้าของอำนาจนำ แม้กระทั่งคำสั่งปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม รัฐนิยม 12 ข้อก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นนโยบายไทยนิยมในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งหลังจากการสวรรคตของกษัตริย์ภูมิพูลสิ่งเหล่านี้ก็ถูกแปลงมาเป็นค่านิยม 12 ประการ

ยุคใหม่

ดังที่ได้ยกตัวอย่างกลุ่มต่างๆ ในบทความนี้ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐนานนับทศวรรษ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้กระแสการต่อต้านได้ภายในศูนย์กลางอำนาจ นับตั้งแต่การตายของกษัตริย์ภูมิพล ในปี พ.ศ. 2559 ก็ได้มีกระแสต่อต้านรัฐไทยขึ้นท่ามกลางคนไทย โดยเฉพาะในคนรุ่นใหม่

การประท้วงเพื่อประชาธิปไตย/สาธารณรัฐ ได้ก่อตัวขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาซึ่งผู้เข้าร่วมนั้นก็ปฎิเสธความเป็นไทยที่นิยมในช่วงของฉันทามติภูมิพลในที่สุด ซึ่งกลุ่มกษัตริย์นิยมจะเรียกกลุ่มผู้ประท้วงว่าเป็น “พวกชังชาติ”

ผู้ประท้วงหลายคนถูกจำคุกโดยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมในที่สาธารณะ  ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นก็รักษาไว้เพื่อรักษาอำนาจของสถาบันกษัตริย์และรัฐทหารไว้และสร้างภาพความเป็นประเทศประชาธิปไตยไว้ ข้อสังเกตสำคัญของกลุ่มผู้ประท้วงที่น่าสนใจคือ การก่อตัวของกลุ่มที่ชื่อ “คณะราษฎร” ซึ่งเคยโค่นอำนาจสถาบันกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งจอมพล ป. ก็เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในการนำกลุ่มขณะนั่น

นี่แสดงให้เห็นว่า แม้จะมีกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีความก้าวหน้า แต่ยังคงได้รับอิทธิพลหรือกลิ่นอายของกลุ่มขวาจัดหรือแม้กระทั่งเผด็จการฟาสซิสต์ ในทางกลับกันแม้เป็นการต่อต้านวงจรอุบาทว์เดิมๆ พวกเขายังคงยึดถือตามแบบ จอมพล ป. หนึ่งในแฮชแท็กติดเทรนด์ในทวิตเตอร์ถึงกับตั้งว่า “#กูลูกหลานจอมพลป” สะท้อนให้เห็นถึงบางกลุ่มในขบวนการเคลื่อนไหวมองย้อนหลังด้วยความชื่นชมถึงยุคสมัยที่ฟาสซิสต์ยังเฟื่องฟูและไม่มีใครทัดเทียมได้นััน แค่เพราะว่ามันเสริมความนิยมสาธารณรัฐ หาใช่การสร้างสังคมที่ก้าวหน้ากว่าเดิม

หมุดทองเหลืองถูกติดตั้งเพื่อระลึกถึงการประท้วงปี 2563

ความเป็นฟาสซิสต์ในแบบยุโรปได้ฝังรากลึกลงในสังคมไทยเป็นเวลากว่าทศวรรษซึ่งมันแฝงมาโดยความเป็นไทยแบบพุทธเถรวาทและความชื่นชมระบบกษัตริย์ แต่รากฐานแบบฟาสซิสต์นั้นก็ยังอยู่ในไทยจนทุกวันนี้นับตั้งแต่ต้นกำเนิดของมันตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1920 ในยุโรปจนมาถึงไทยในร้อยปีให้หลัง ไม่ว่าจะในกลุ่มกษัตริย์นิยมหรือสาธารณรัฐนิยม