ณ ที่แห่งนี้คือปริศนาเกี่ยวกับความรัก ความรักคือเหตุการณ์หนึ่งที่ปรากฏขึ้นจากภายนอกและเข้ามาพังทลายเวลาออกเป็นสองส่วน มันทุบทำลายโครงสร้างของโลกที่คุณรู้จักเสียจนป่นปี้และสร้างโลกใหม่ขึ้นมา ในความรัก คุณสูญเสียตัวตนและได้รับการดำรงอยู่ใหม่ เรือนร่างใหม่ คุณถูกสร้างขึ้นมาอีกครั้ง แต่ถ้าหากความรักคือเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวที่อยู่ภายนอกเวลา เราก็คงไม่อาจจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมัน เพราะแทบเป็นไม่ได้เลยที่จะอยู่ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
ความรุนแรงของตำรวจ : วิธีการที่ผู้ประท้วงทั่วโลกใช้ต่อต้านความรุนแรงที่มาจากรัฐ
กองกำลังตำรวจทั่วโลกมีกลวิธีในการจัดการควบคุมการประท้วงที่พวกเขาใช้ร่วมกัน และผู้ประท้วงก็ควรมีกลวิธีในการป้องกันตัวเองเช่นเดียวกัน บทความชิ้นนี้พาสำรวจขบวนการเคลื่อนไหวประท้วงอันแตกต่างหลากหลายและวิธีการที่พวกเขาใช้ในการรับมือความรุนแรงของตำรวจ พร้อมเคล็ดลับแบบต่าง ๆ ที่ผู้มีส่วนร่วมในการประท้วงนิยมใช้กัน
ผู้หญิง ชีวิต อิสรภาพ: ขบวนการปลดปล่อยผู้หญิงเคอร์ดิสถาน
ผู้หญิง ชีวิต อิสรภาพ ประวัติศาสตร์ย่นย่อของขบวนการปฏิวัติโดยผู้หญิงชาวเคิร์ด แม้จะหลากหลายกลุ่มแต่เป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการปลดแอกผู้หญิงออกจากโครงสร้างที่กดขี่ทุกรูปแบบ เพราะเสรีภาพไม่อาจเกิดขึ้นได้หากผู้หญิงยังคงเป็นทาส การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไปแม้จะมีผู้ที่เสียสละชีวิตไปหลายร้อยคนก็ตาม
ผู้หญิงกับอนาธิปไตย
สตรีถูกดึงดูดโดยแนวคิดอนาธิปไตยเพราะมันคือหนทางไปสู่การปลดแอกตนเอง แต่ความเป็นจริงเหล่าสตรีกลับต้องเผชิญการเหยียดหยามจากผู้ชายในขบวนการ และนักอนาธิปไตยของแรกอย่างพรูดองยังมองว่าผู้หญิงเป็นแค่ “เครื่องสืบพันธุ์” นี่ช่างเป็นความน่าหนักใจที่ขบวนการซึ่งเชิดชูความเท่าเทียมกลับมีทัศนคติอันเลวร้ายเช่นนี้ แต่ในประวัติศาสตร์การต่อสู้ ผู้หญิงมีบทบาทมากมาย และมีนักอนาธิปไตยหญิงจำนวนหนึ่งที่โดดเด่นไม่แพ้ผู้ชาย
เผด็จการฟาสซิสต์ยุโรปแบบไทย ๆ
ด้วยคำสั่งปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม รัฐนิยม 12 ข้อได้ถูกประกาศใช้ ซึ่งคำสั่งนี้ประกอบด้วยทั้ง เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย เรื่องภาษาและหนังสือไทยกับหน้าที่พลเมืองดี รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันว่าควรกินหรือนอนอย่างไรเวลาเท่าใด ซึ่งในเมื่อก่อนนั้นถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ ทั้งข้อต่าง ๆ ในประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับทุกสิ่งเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างนิยามความเป็นไทยของตัวเองและเผยแพร่ความเป็นไทยไปทั่วแผ่นดิน
แถลงการณ์ 4 พฤษภาคม
เมื่อร้อยปีก่อน กลุ่มนึกศึกษาสี่พฤษภาฯได้แรงบันดาลใจจากการเรียกร้องให้สู้เพื่อเอกราชและกำจัดผู้ทรยศชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมนักศึกษาจึงปฏิเสธการเข้าชั้นเรียน แรงงานนัดหยุดงาน พ่อค้าวาณิชปฏิเสธตลาด ประชาชนทุกหนแห่งเข้าร่วมกับคลื่นแห่งการต่อต้านสินค้าจากญี่ปุ่นในขบวนการต่อต้านจักรวรรดินิยมและศักดินาที่ขยายตัวออกไปดั่งไฟป่าที่โหมไหม้ไปทั้งประเทศ นี่คือการปะทุครั้งใหญ่ของมวลชน และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชนชั้นแรงงานของจีนก้าวขึ้นมาเป็นพลังสำคัญในฐานะพลังอิสระ สิ่งนี้ก่อให้เกิดธรรมเนียมอันน่าปลื้มปีติของการเคียงบ่าเคียงไหล่กันระหว่างปัญญาชนฝ่ายก้าวหน้าและชนชั้นแรงงาน
รจาวา ถอดความจากการสัมภาษณ์ผู้อาศัย ณ แดนดินถิ่นในฝันของใครหลายคน
หลายคนคงประทับใจโรจาวา จากที่ได้อ่านในบทความของเราหรือได้ดูจากคลิปวีดีโอของพูดไปแล้ว ครั้งนี้ทาง #Dindeng จึงพาเราเข้าใกล้แดนดินถิ่นนั้นมากขึ้นไปอีก ด้วยการสัมภาษณ์สายตรงไปถึงอาสาสมัครที่ตั้งใจจะอยู่ที่นั่นตลอดชีวิต (เขาใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นเป็นเวลากว่าปีนึงแล้ว) เราได้จัดตั้งการประชุมสายจากมหาอาณาจักรล้านนาและเมืองเล็กๆ ในยุโรป ไปถึงใจกลางสหพันธ์ประชาธิปไตยโรจาวา ภายใต้สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ฝากฝั่งหนึ่งต้องเสียเงิน กับอีกที่หนึ่งใช้การได้ฟรี …
ราคาของความรู้
กล่าวโดยสรุป ค่าใช้จ่ายสำหรับการตีพิมพ์วารสารได้ลดลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเรียงพิมพ์ได้ถูกย้ายจากสำนักพิมพ์ไปสู่ผู้เขียน และค่าใช้จ่ายสำหรับการตีพิมพ์รวมทั้งการกระจายต่างลดลงอย่างสำคัญเมื่อเทียบกับที่มันเคยเป็น กลับกัน จำนวนเงินที่ถูกใช้ไปโดยหอสมุดของมหาวิทยาลัยเพื่อซื้อนิตยสารดูเหมือนจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เหตุใดบรรดานักคณิตศาสตร์ผู้มีส่วนร่วมในการใช้แรงงานโดยสมัครใจและนายจ้างของพวกเขาจึงยังต้องจ่ายเงินเพื่อการบริหารที่มูลค่าของมันไม่ทัดเทียมกับราคาที่ต้องจ่ายไป ?
หากจะกู้โลก จงหยุดทำงานเสีย
เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ของก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยออกมาจากโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน การขนส่ง การก่อสร้าง ที่เหลือเกือบทั้งหมดมาจากอุตสาหกรรม ในขณะที่สามสิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์ของแรงงานในอังกฤษรู้สึกว่างานของพวกเขาเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นโดยสิ้นเชิง หากพวกเขาสามารถหายไปในวันพรุ่งนี้ โลกก็จะไม่แย่ไปกว่านี้ หากคิดแบบคณิตศาสตร์พื้นฐาน และหากคนงานเหล่านั้นถูก พวกเราสามารถลดภาวะโลกร้อนได้ด้วยการกำจัดงานไร้สาระทิ้งไป
ค่าแรงสำหรับนักเรียน
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนมากลงความเห็นว่า “งานในโรงเรียนเป็นทั้งการบริโภคและการลงทุน” ดังนั้น คำตอบของพวกเขาต่อคำถามว่าทำไมต้องเป็นงานในโรงเรียนคือ การเล่าเรียนที่คุณได้รับนั้นมอบสิ่งที่ดีให้แก่คุณ ไม่เฉพาะแค่ว่าคุณกำลังลงทุนให้กับตัวเองซึ่งสามารถคาดว่าคุณจะได้รับงานที่ให้ค่าแรงสูงในอนาคต แต่ยังเป็นเพราะว่าการเล่าเรียนนั้นสนุก พวกเราสามารถคิดเรื่องนี้ยังจริงจังได้หรือไม่
สนทนากับสหายในพม่า ว่าด้วยทิศทางการประท้วงรัฐบาลทหาร
รัฐประหารที่พม่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์นั้นตามมาด้วยการชุมนุมประท้วงจากประชาชนที่ไม่ยอมจำนน พวกเขาถูกรัฐทหารใช้ความรุนแรงเพื่อปราบปราม บ้างบาดเจ็บ บ้างถูกจับกุม และเลวร้ายที่สุดคือเสียชีวิต นี่คือการต่อสู้ที่ไม่อาจจบสิ้นได้โดยง่าย เหล่าผู้ชุมนุมและแกนนำจำต้องค้นหายุทธวิธีในการต่อต้านขัดขืน เพื่อนำเอาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และชีวิตที่เป็นอิสระกลับคืนมา บทสัมภาษณ์สั้นๆ ชิ้นนี้จะช่วยให้เราเข้าใจทิศทางของสหายในพม่าต่อการประท้วงที่กำลังเกิดขึ้น
ประกาศเกี่ยวกับห้องสมุดอนาธิปไตยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ห้องสมุดอนาธิปไตยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Southeast Asian Anarchist Library) เป็นภารกิจล่าสุดของห้องสมุดอนาธิปไตย ที่รวบรวมงานเขียนเกี่ยวกับอนาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืองานเขียนที่เป็นภาษาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอาไว้ด้วยกัน
กรณีแปลก ๆ ของเจฟรีย์ เอ็ปสไตน์ (Jeffrey Epstein)
ถ้าจะให้พูดสั้น ๆ ง่าย ๆ เอ็ปสไตน์นั้นเป็นทั้ง แมงดา-เฒ่าหัวงู-โคแก่กินหญ้าอ่อน มืออาชีพที่ร่ำรวย และมีเครือข่ายทางการเมืองที่ดีอย่างเหลือเชื่อ เขามีเกาะส่วนตัวของตัวเองนอกชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งเขาจะให้ทาสทางเพศสาวของเขาคอยต้อนรับแขกผู้มีอำนาจที่บินไปที่นั่นด้วยเครื่องบินส่วนตัวของพวกเขา ซึ่งเขาตั้งชื่อเล่นว่า “สายด่วนโลลิต้า” ‘The Lolita Express’
ยุทธศาสตร์การปฏิวัติ
ยุทธศาสตร์ 11 ข้อดังต่อไปนี้ เป็นการสรุปสั้นๆ ยุทธศาสตร์การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพในประวัติศาสตร์โลกตามการจำแนกในคู่มือ หมวดหมู่นโยบายทางทหารการปฏิวัติ (Categories of Revolutionary Military Policy) เขียนโดย T. Derbent สหายคอมมิวนิสต์สายยุทธศาสตร์การทหารจากประเทศเบลเยี่ยม
Sindhiyani Tehreek: สตรีนิยมปฏิวัติใน Sindh?
ภายใต้สังคมศักดินาและปิตาธิปไตยที่ชายเป็นใหญ่ครองเมือง ที่ที่เกียรติยศยังคงได้มาจากการสังหารฆ่าฟัน ที่ที่อัตราการอ่านออกเขียนได้ในแถบชนบทนั้นแทบไม่ถึงหนึ่งในสี่ ความรุนแรงในครอบครัวไม่แม้แต่จะถูกจดจารลงบันทึกประจำวัน แล้วหญิงสาวชาวชนบทเหล่านี้สามารถนำการต่อต้านขัดขืนระบอบเผด็จการอันป่าเถื่อนที่สุดของปากีสถานได้อย่างไร? สิ่งไหนจะเป็นบทเรียนให้กับขบวนการสตรีนิยมปากีสถานที่ลุกขึ้นมาสู้ในสมัยนี้ได้บ้าง? ที่จริงแล้ว เราสามารถเรียก Sindhiyani Tehreek ว่า ‘สตรีนิยม’ ได้หรือไม่? นี่คือบางคำถามที่ผมหวังจะหาคำตอบให้ได้
ทำไมเราต้อง PC ? เมื่อทุกคุณค่าทางสังคมนั้นมีค่าเสมอกัน
ดังนั้น เมื่อมองย้อนกลับมาในความเป็นเสรีนิยมอันเป็นบ่อเกิดของการ PC โดยเสรีนิยมนั้น ได้สถาปนาความเท่าเทียมกันของทุกคุณค่าทางสังคม (value) ที่เป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางวัฒนธรรม (multiculturalism) ความเท่าเทียมกันหรือการนำเอาทุกคุณค่า หรือทุกวัฒนธรรมมาวางไว้อยู่บนระนาบเดียวกันก็เป็นไปเพื่อความเท่าเทียมและให้เกียรติทุก ๆ คุณค่า แต่ทว่า ปัญหาของเสรีนิยมเองก็กลับมาที่ความอดทนอดกลั้น ที่มีปัญหาเอง…
รัฐประหารในพม่า (Burma coup)
So the million dollar question regarding the coup is: Why now? That’s what’s confusing so many Burma watchers.
คำถามโลกแตกเกี่ยวกับการรัฐประหารครั้งนี้ก็คือ ทำไมเป็นตอนนี้? คำถามนี้กวนใจผู้ติดตามสถานการณ์ในพม่าตอนนี้อย่างยิ่ง
ค่าแรงในฐานะการต่อต้านงานบ้าน
พวกเขาพูดว่ามันคือความรัก แต่พวกเราจะบอกว่ามันคืองานที่ไร้ค่าแรง
ในหลายครั้ง ความยากลำบากและความสับสนที่บรรดาผู้หญิงแสดงออกมาระหว่างการถกเถียงเรื่องค่าแรงสำหรับงานบ้านเกิดขึ้นมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเธอลดทอนค่าแรงให้กลายเป็นแค่เพียงสิ่งของ…
นิเวศวิทยาแห่งการปลดแอก: ขบวนการ Mukti Bahini, แม่น้ำ และการคลี่คลายตัวของปัญหาปากีสถาน
เรื่องเล่ากระแสหลักเกี่ยวกับสงครามปี 1971 แทบไม่ให้ความสนใจบทบาทของนิเวศวิทยาและความรู้เหล่านี้ของชาวนาในการสร้างชาติบังคลาเทศเลย ชาวนาใช้ยุทธภูมินิเวศวิทยา (ecological landscape) ที่พวกเขารู้และรักเป็นหัวใจสำคัญในการต่อสู้เพื่อการปลดแอก ความรู้กระแสรองของชาวนาสามัญนี่แหละที่ช่วยปลดปล่อยบังคลาเทศ มากว่าความรู้ของชนชั้นนำหรือพวกกระฎุมพีเสียอีก
ปืนใหญ่ทั้งปวงจะขึ้นสนิมอย่างเงียบงัน: จดหมายข่าว 50 วินาที (2020)
ปีนี้ [2020] ของเรามืดหม่นเนื่องด้วยโรคระบาดระดับโลก (pandemic) เจ้าไวรัสแพร่กระจายทำให้สังคมทั่วทั้งโลกเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว รัฐบาลบางแห่งมีมาตรการที่ชาญฉลาด มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ และมีมนุษยธรรมมากกว่าที่อื่นในการตอบสนองต่อการระบาดครั้งนี้ หลายที่ (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) เป็นรัฐบาลที่บริหารงานด้วยคุณค่าแบบสังคมนิยม หนึ่งในนั้นคือรัฐเกรละของอินเดียซึ่งตั้งอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ประกอบไปด้วยประชากร 35 ล้านคน และปกครองโดยพรรคแนวหน้าประชาธิปไตยฝ่ายซ้าย (Left Democratic Front: LDF)
ฟรีแลนซ์ และจริยศาสตร์การทำงานแบบโปรแตสแตนท์
ภาพยนต์ ฟรีแลนซ์ ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ (2015) ที่กำกับโดย นวพล ธำรงค์รัตนฤทธิ์ เป็นตัวอย่างที่หาได้ยากของภาพยนต์ไทยที่มีเนื้อหาแบบมาร์กซิสต์ โดยภาพยนต์เรื่องนี้ได้แฝงไปด้วยมุมมองการวิพากษ์ต่อระบบทุนนิยมและจริยศาสตร์การทำงานแบบโปรแตสแตนท์แบบมาร์กซิสต์ที่เราทั้งแบบแนบเนียนและตรงไปตรงมา
ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ฉบับกะทัดรัด
ระหว่างที่พำนักอาศัยอยู่ ณ ประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี ผมเผชิญกับสถานการณ์ที่จำเป็นต้องอธิบายเรื่องศาสนายูดาย (Judaism) อยู่บ่อยครั้ง ทั้งผมและภรรยาที่ไม่ได้นับถือศาสนาใดๆ ด้วยกันทั้งคู่ ต่างเติบโตมาในครอบครัวชาวยิว ไม่แปลกเลยที่ปกติแล้วเราจะเจอกับชาวไทยที่พูดกับเราว่า ‘โอ้คุณเป็นยิวหรอ อิสราเอลใช่ไหม เป็นประเทศที่ดีนะ…’ แล้วพวกเขาก็ต้องประหลาดใจที่เราพยายามจะอธิบายว่าเราไม่ชอบอิสราเอลและจุดยืนทุกสิ่งอย่างของประเทศนั้นอย่างไรบ้าง…
ยกเลิกเมืองหลวง
การจินตาการถึงระบบการปกครองแบบรัฐที่ไม่มีเมืองหลวง อาจจะดูเป็นไปไม่ได้ในโลกของความเป็นจริง แต่มีประเทศหลายๆ ประเทศที่มีลักษณะของความเป็น Capitalless Country ไม่ว่าจะประเทศที่มีขนาดเล็กหลายๆ ประเทศที่มีเมืองเดียว City-states เช่น Singapore, Vatican, Monaco หรือประเทศที่มีลักษณะ Countries with no cities ซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรที่น้อยมาก เช่น Nauru, Tavalu ซึ่งตัวอย่างที่ยกมานั้นจะมีลักษณะพิเศษในตัวมันเองทั้งขนาด หรือจำนวนประชากร แต่ก็ยังมีอีกประเทศหนึ่ง นั้นคือ Switzerland ที่มีขนาดและประชากร เทียบเท่ากับประเทศอื่นๆ แต่ Switzerland กลับไม่มีเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ
“ยกเลิกเมืองหลวง” อาจจะฟังดูแล้วไม่รู้ว่ามันคืออะไร? ยกเลิกไปทำไม? เพื่ออะไร? ต้องการอะไร? เอาจริงๆ ก็ยังไม่รู้ว่าจะนำไปสู่จุดไหน แต่เราก็พยายามทดลองแตะขอบเขตของความสามัญ ความปกติ ความเป็นไปได้ต่างๆ เพื่อให้เกิดการพูดคุยถึงทั้งสิ่งที่เป็นปัญหา และไม่เป็นปัญหา ในภาวะที่สังคมกำลังมีแรงผลักดันที่นำไปสู่สิ่งต่างๆ ………
ทำไมฉันถึงไม่เป็นเฟมินิสต์: วงสนทนาเรื่องเฟมินิสต์ผ่านกิจกรรม Reading Group
ชวนคุยเรื่อง Feminism ผ่านหนังสือ Why I am not a Feminist ของ Jessa Crispin เพื่อดูข้อเสนอที่วิพากษ์ขบวนการเฟมินิสต์ในปัจจุบันจากกรอบของสังคนิยม
เผด็จการโควิด และการผูกขาดอำนาจทางการตลาด
เราได้อยู่กับโรคระบาดโควิด-19 นี้มาเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งปีแล้ว แน่นอนว่ามาตรการที่รัฐต่าง ๆ นำมาใช้ในการควบคุมหรือป้องกันการระบาดของโรคนี้ก็ย่อมเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะการติดต่อของโรคนั้น สามารถติดต่อได้ผ่านสารคัดหลั่ง ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากการปฏิสัมพันธ์กัน สัมผัสกัน ใกล้ชิดกันของมนุษย์ ดังนั้น รัฐที่ต้องการควบคุมการระบาด จึงต้องห้ามไม่ให้ผู้คนส่งผ่านสารคัดหลั่งสู่กันให้ได้มากที่สุด อันเป็นเหตุให้ต้องใช้มาตรการล็อคดาวน์ (lockdown) หรือการปิดบ้านปิดเมืองนั่นเอง ซึ่งสาเหตุของการระบาดของโรคนี้ จึงนำมาสู่สภาวะพิเศษ หรือสภาวะฉุกเฉิน เป็นที่มาของการประกาศใช้ “สภาวะยกเว้น” ซึ่งเป็นการนำอำนาจเผด็จการมาใช้โดยชอบธรรม ภายใต้ข้ออ้างของการระบาดของโรคโควิด-19 จึงเป็นที่มาของ “เผด็จการโควิด”
บทนำโคตรจะย่อ: ภาวะอำนาจคู่ (Dual Power) ในรัสเซีย 1917
การปฏิวัติเดือนตุลาคม 1917 ในรัสเซียเป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องยาวนาน การชี้ชัดจุดเริ่มต้นจุดใดจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ เป้าหมายของบทความนี้จึงต้องการเกริ่นนำอย่างย่นย่อที่สุด เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังได้เข้าใจสถานการณ์ ความคิด และปฏิบัติการที่รายล้อมสิ่งที่เรียกว่า Dual Power เพื่อให้การศึกษาทำความเข้าใจและถอดบทเรียนไปใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะเขียนในรูปแบบแนะนำตัวละคร สถานที่ และลำดับเวลาตามระบบปฏิทินสมัยเก่าที่รัสเซียใช้กันในสมัยนั้น เพื่อให้ผู้อ่านฟัง podcast ได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
นิเวศวิทยาสังคม: มนุษย์นิยมเชิงนิเวศ โดย Daniel Chodorkoff
บทความสั้นๆ ชิ้นนี้ให้ภาพรวมขององค์ความรู้ที่เรียกว่า นิเวศวิทยาสังคม ซึ่งเป็นแนวคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ของมนุษย์กับโลกธรรมชาติ นิเวศวิทยาสังคมต้องการที่จะเสนอว่า ธรรมชาติกับมนุษย์นั้นไม่ใช่สิ่งที่แยกขาดจากกันในแบบที่เรามักเข้าใจ ไม่ว่าจะฝ่ายนักอนุรักษ์ที่ต้องการกีดกันมนุษย์ออกจากธรรมชาติ หรือฝ่ายก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและทุนนิยมที่จ้องจะล้างผลาญธรรมชาติ และมองธรมชาติในฐานะทรัพยากรที่จะไปหยิบมาใช้อย่างไรก็ได้
พญาอินทรี ไม่ใช่พี่ใหญ่ของพวกเรา: สหรัฐอเมริกา มิตรไม่แท้ ศัตรูถาวร?
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เราเริ่มเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในขบวนการประชาธิปไตยของไทยเช่นเดียวกัน เราเริ่มเห็นบัญชีผู้ใช้ทางทวิตเตอร์ที่มีธงชาติอเมริกาประดับบนชื่อ น่าเสียดายที่เราจำเป็นต้องกล่าวให้ชัดว่า อเมริกานั้นไม่ใช่พี่ใหญ่หรือมิตรสหายของเรา อันที่จริงสหรัฐฯสนับสนุน และหลายครั้งเป็นผู้ก่อการรัฐประหารต่อรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างเป็นประชาธิปไตยนับครั้งไม่ถ้วน
ย้อนคิดสภาวะ “การเมืองที่แท้จริง” ของสลาวอย ชิเชก กับสถานการณ์ในปัจจุบัน
พวกเขาจะบอกว่าพวกคุณกำลังฝันอยู่ แต่พวกช่างฝันที่แท้จริงคือคนที่คิดว่าสิ่งต่าง ๆ จะดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุดตามทางของมัน แค่เปลี่ยนเสื้อผ้าหน้าผมสักหน่อยแค่นั้น เราจึงไม่ใช่พวกช่างฝัน; เราคือผู้ที่ตื่นขึ้นมาจากความฝันที่กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นฝันร้าย เราไม่ได้ทำลายอะไรลงไป; เราแค่เป็นเพียงพยานที่กำลังมองเห็นระบบมันทำลายตัวเองลงอย่างช้า
เป็นคอมมิวนิสต์ซื้อของแบรนด์เนมได้หรือไม่?
คอมมิวนิสต์ไม่ได้ต่อต้านเทคโนโลยี ไม่ได้บูชาความยากลำบาก เราเพียงต้องการชีวิตที่ดีกว่าเดิม ชีวิตที่ดีกว่าเดิมหมายถึงการที่เราทุกคนอยู่ในสังคมที่มีพลังการผลิตที่ก้าวหน้า และสิ่งที่สังคมทุนนิยมให้ไม่ได้แต่สังคมคอมมิวนิสต์ให้ได้ก็คือ ข้อสมมติฐานที่ว่าเราทุกคนจะได้เป็นเจ้าของความมั่งคั่งที่เกิดจากพลังการผลิตที่ก้าวหน้าภายในสังคมทั้งหมด
กระต่ายกับเต่า: การแข่งขัน การแตกหัก และความไร้สาระ
นิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า คืออุปมาที่ช่วยให้เรามองเห็นการแข่งขันที่แสนจะดูโง่เง่าไร้สาระ ทำไมกระต่ายจึงไปท้าเต่าแข่งทั้งที่รู้ว่าเต่าไม่มีทางชนะ แต่เมื่อเอามาวิเคราะห์กับระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่าการแข่งขันระหว่างกระต่ายกับเจ่านั้นกำลังเกิดขึ้นจริง กระต่ายที่เป็นนายทุนใหญ่เพีบง 1% กับเต่าที่เป็นคนอีก 99% ที่เหลือ
เสรีภาพทางวิชาการไม่ได้หล่นมาจากบนฟ้า แต่มาจากการเปล่งเสียงของพวกเรา
จริยธรรมการวิจัยในคนไม่ได้มีปัญหาแค่เพียงความยุ่งยากของกระบวนการเพียงเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของอำนาจนิยมของกลุ่มคนที่มีสิทธิ์กำหนด กะเกณฑ์ ตั้งกฏขึ้นมาโดยไม่สนใจเงื่อนไขที่ควรพิจารณา และนั่นคือสิ่งที่ทำทำให้เสรีภาพทางวิชาการสั่นคลอน และส่งผลไปถึงเสรีภาพทางชีวิตและการทำงานของแรงงานในมหาวิทยาลัยด้วย
ประชาธิปไตยหมายถึงอะไรกันแน่?
การปะทุขึ้นของขบวนการประท้วง ที่มีคนหนุ่มสาวชาวสยามเป็นแกนนำเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ผุดออกมาทั้งกลางถนนและในทวีตภพ พวกเขาเรียกร้องหาประชาธิปไตย พวกเขาเปล่งเสียงตะโกนออกมา ซ้ำแล้วซ้ำอีก “เราต้องการประชาธิปไตย” ทว่าประชาธิปไตยในบริบทนี้หมายความว่าอะไรกันแน่?
นิเวศวิทยาสังคม กับเมอร์เรย์ บุคชิน
เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจนิเวศวิทยาสังคม ซึ่งเป็นระบบที่มุ่งเปลี่ยนมุมมองของเราอย่างถึงรากถึงโคน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเรากับธรรมชาติ ลำดับชั้น (hierarchy) และการครอบงำ (dominance) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการล่มสลายของระบบนิเวศน์ เรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยาระดับโลก มหาสมุทร ผืนป่า ไร่นา แม้กระทั่งเมืองของเรากำลังถูกล้างบาง และทรัพยากรทางธรรมชาติของเราก็ใกล้หมดลงเต็มที ป่าถูกแทนที่ด้วยเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ ผืนดินถูกฉาบทับด้วยคอนกรีต
สีน้ำเงินปะทะสีกากี เจ้าหน้าที่รัฐกับความไม่เดียงสา
ข่าวเด่นประเด็นร้อนวันนี้ คงหลีกไม่พ้นกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้แสนอ่อนแอ ถูกสาดสีน้ำเงินเปรอะเปื้อนชุดสีกากีพระราชทานไปเสียมิได้ เราทุกคนต่างรู้ดีไม่ใช่หรือว่าคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจเหล่านี้ก็เป็นมนุษย์เหมือนเรา มีลูกมีหลาน มีครอบครัว ต้องรับใช้นายตามคำสั่ง ปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด แล้วเหตุใดเล่า ความโกรธแค้นที่กระทำไปในนามของศิลปะ จึงต้องไปทำร้าย ทำลาย ชุดพระราชทานเหล่านั้นด้วย?
คนไม่มีสิทธิ์: ว่าด้วยชีวิตอันเปลือยเปล่าของเราทุกคน
กรณีผู้ลี้ภัยการเมืองชาวไทยที่ถูกบังคับให้สูญหายในประเทศเพื่อนบ้าน เราอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าเขาเหล่านั้นมีชื่อเสียงเรียงนามอะไรบ้าง แต่ที่อยากพูดถึงคือ เหตุการณ์เหล่านี้คือตัวอย่างของการที่องค์อธิปัตย์ได้ปลดเปลื้องสิทธิ์ความเป็นพลเมืองของพวกเขา ทำให้กลายเป็นชีวิตที่เปลือยเปล่า ไม่ว่าพวกเขาจะถูกกระทำเช่นไรก็ไม่สามารถเอาผิดใครได้
ชูสามนิ้วไม่ผิดกฎหมาย แต่ครูทำร้ายนักเรียนมีความชอบธรรม: โรงเรียนไทยกับความผิดที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์
สังคมอุดมอำนาจนั้นให้ความชอบธรรมแก่ครูในการลงทัณฑ์โดยวิธีใดก็ได้โดยไม่คำนึงถึงกฎระเบียบ เช่น การตัดผมนักเรียนทั้งชายและหญิงเมื่อพบว่าทรงผมของพวกเขาผิดระเบียบ อันที่จริงกฎระเบียบว่าด้วยทรงผมก็เปลี่ยนมานานแล้ว แต่บังเอิญว่าตัวกฎระเบียบเองก็ไม่ถูกต้องตาม ‘ลักษณะในอุดมคติ’ ครูจึงสามารถลงโทษนักเรียนได้ตามที่พวกเขาเห็นว่าเหมาะสม ไม่มีใครเอาผิดครูที่ตัดผมนักเรียนได้ แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการก็ตาม
บทวิพากษ์ว่าด้วยประชาธิปไตยปากว่าตาขยิบ และบริษัทที่ชื่อว่ามหาวิทยาลัย
สิ่งที่คณาจารย์ นักการเมืองและผู้บริหารมหาวิทยาลัยพึงกระทำก็คือ ต้องยืนยันในสิทธิ ดังกล่าวของนักศึกษาด้วยการออกมาปกป้องพวกเขา โอบอุ้มพวกเขา สนับสนุนพวกเขาและถึงที่สุดแล้วคือเข้าร่วมกับพวกเขา มิใช่การผลักไสและตัดช่องน้อยแต่พอตัว
เรากล้าจินตนาการถึงโลกที่ปราศจาก ‘งาน’ หรือเปล่า?
แทนที่พวกเราจะมุ่งทำลายล้างบรรดางานที่ได้รับค่าแรงให้หมดไป พวกเรากลับพยายามอย่างหนักเพื่อให้งานที่ไม่ได้ค่าแรงนั้นหมดไปแทน นี่คือสภาพของการลงหลักปักฐานของความคิดว่าด้วยการดำรงอยู่และความจำเป็นของงานที่ได้รับค่าจ้าง
คอกกั้นในตึกระฟ้าย่านสาทร และดอกทานตะวันของกินส์เบิร์ก
ในสังคมเมืองที่มีประชากรแออัด ฐานะส่งผลกับขนาดและสภาพแวดล้อมของสถานที่อยู่อาศัย ยิ่งบุคคลมีฐานะดี ก็มักจะเลือกสถานที่อยู่อาศัยที่กว้างขวางและมีสภาพแวดล้อมที่ดี
นักศึกษาทั้งหลาย บัดนี้จงเชื่อฟังแต่น้อย และต่อต้านให้มาก!
ในห้วงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ได้เกิดการต่อสู้ขึ้นในแทบทุกส่วนของสังคมไม่เว้นแม้แต่สถาบันที่เรียกว่ามหาวิทยาลัย เมื่อประจักษ์ต่อผลกระทบอันหนักหน่วงทางเศรษฐกิจที่เกิดแก่ผู้ปกครอง บรรดานักศึกษาจำนวนหนึ่งก็เริ่มรณรงค์เพื่อเรียกร้องมาตรการช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการลดค่าธรรมเนียมการศึกษา คืนค่าเทอม ทุนการศึกษา การผ่อนผัน ฯลฯ
สวรรค์จากเถ้าถ่าน
ชาวโรจาวาได้ให้สัมภาษณ์ว่า “เราต่อต้านระบบอำนาจจากบนลงล่าง (top-down) เราต้องการระบบที่ปฏิบัติการจากล่างขึ้นบน” หลักการของคอมมูนคือ “ไม่มีใครรู้ดีว่าคุณหรือชุมชนของคุณต้องการอะไร มากไปกว่าคุณและชุมชนคุณเอง” นี่คือองค์กรทางสังคมแบบล่างขึ้นบน หรือเรียกว่าระบบแนวระนาบ (horizontal organisation of society) นั่นเอง
Brian Morris – มานุษยวิทยากับอนาธิปไตย
มานุษยวิทยากับอนาธิปไตยนั้นมี “ความเกี่ยวดองกันอย่างสมัครใจ” อยู่หลายทางด้วยกัน แม้ว่าสิ่งที่มานุษยวิทยาสนใจจะศึกษานั้นมีหลายหลาก ถูกซอยย่อยออกไป และการสำรวจของมันก็ค่อนข้างที่จะกว้าง เนื่องจากเป็นการศึกษาวัฒนธรรมของมนุษย์ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้วก็ยังมีความเฉพาะเจาะจงอยู่ นั่นคือการศึกษาสภาพสังคมก่อนที่จะมีรัฐ
BENJAMIN ZEPHANIAH – ทำไมผมถึงเป็นนักอนาธิปไตย
Peam Pooyongyut Benjamin Zephaniah เป็นกวี นักเขียน และนักเคลื่อนไหวชาวจาไมก้า เขามีผลงานมากมายที่ประจักษ์ต่อสาธารณะชน การอ่านบทกวีของเขานั้นผสมดนตรี dub เข้าไปด้วย เนื่องจากได้อิทธิพลจากวัฒนธรรมบ้านเกิด ข้อเขียนชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสาร Dog Section...
คนในกับการต่อต้านมหาวิทยาลัย
Peam Pooyongyut จากการประท้วงหนัดหยุดงาน การเข้ายึดพื้นที่ และการปราบปรามอย่างรุนแรงที่ผ่านมาไม่นาน มหาวิทยาลัยกำลังกลายเป็นสนามรบ แล้วสิ่งนี้มีความหมายอย่างไรกับนักศึกษาและคนที่ทำงานอยู่ในนั้น? *หมายเหตุผู้แปล: บทความนี้ใช้บริบทมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ...
เรากำลังจะตาย เพราะไม่มีพื้นที่สาธารณะ
Peam Pooyongyut อากาศเดือนเมษายนของเมืองไทยนั้นร้อนระอุเกินทน และโรคระบาดกำลังทำให้มันแย่เป็นสองเท่า ปกติแล้วในช่วงเวลานี้เรามักจะไปอยู่ตามร้านกาแฟหรือสถานที่ใดก็ได้ที่มีเครื่องปรับอากาศ แต่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้สถานที่เหล่านี้ต้องปิดชั่วคราว...
เราจะไม่กลับไปสู่ภาวะปกติ เพราะความปกติไม่มีอยู่จริงในโลกของทุนนิยม
Peam Pooyongyut สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ถูกมองจากแทบทุกฝ่ายว่าเป็นวิกฤต หรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติ คำถามก็คือ แล้วก่อนหน้านี้มันมีความปกติด้วยหรือ? ความปกติ (normalcy) คืออะไร? และมันถูกกำหนดด้วยปัจจัยอะไรบ้าง อาจจะกล่าวได้ว่าความปกตินั้นไม่ใช่เรื่องสากล...
เสรีภาพที่ลิเบอร์รัลไทยต้องการ
Gabriel Ernst & Foxmean คุณรู้สึกและใช้เสรีภาพในการพูดอย่างไรบ้าง? เดือนพฤษภาคมปี้นี้ (2562) ธนาธรเขียนสเตตัสบนเพจเฟสบุ๊คว่า "[...]ผมขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกคน อย่ายอมแพ้ต่อความอยุติธรรม และขอให้ร่วมมือต่อสู้เพื่อความถูกต้อง...
เป็น คะเรนนี
ในทุกๆ ปี หุบเขากะเหรี่ยงนั้นมีชีวิตชีวาด้วยเสียงร้องเพลงและการละเล่นของเด็กๆ ที่เดินดุ่มเข้าไปในป่า พวกผู้ใหญ่จะถือขวานและเลื่อยนำทางไปยังต้นไม้ใหญ่เพื่อโค่นมันลงมา พอกลุ่มที่เข้าไปในป่าแบกฟืนกลับมาที่หมู่บ้าน เหล่าผู้หญิงและเด็กเล็กๆ ก็จะรี่ออกมาจากกระท่อมของพวกเขา มีการเล่นดนตรีและการบูชายัญ ไก่ถูกเชือดและถอนขน เนื้อของมันถูกแจกจ่ายไปทั่วหมู่บ้านเพื่อแสดงความเป็นมงคล ความเป็นชุมชน และประเพณี
การเมืองใหม่ที่ไม่มีอะไรใหม่: ว่าด้วยวัฒนธรรมแรดิคัลที่แท้จริงในการเมืองไทย
Gabriel Ernst คุณเคยดูมิวสิควิดีโอของ YoungBong (YB) หรือ Juu4E ผ่านๆ ตามาบ้างหรือเปล่า? เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะยังไม่เคย มิวสิควิดีโอเหล่านี้ถูกสร้างด้วยเงินทุนที่ไม่สูงมากนัก แต่พวกมันก็โด่งดังพอตัว ศิลปินที่ร่างกายและใบหน้าถูกตบแต่งด้วยรอยสักจำนวนมากเหล่านี้...
อนาธิปไตยคืออะไร? – บทที่ 2: ระบบค่าแรง
Peam Pooyongyut คุณเคยหยุดถามคำถามนี้กับตัวเองบ้างไหม: ทำไมคุณถึงต้องเกิดมาจากพ่อกับแม่ของคุณ ไม่ใช่คนอื่น? เอาล่ะ คุณน่าจะเข้าใจว่าผมกำลังจะพูดถึงอะไร ผมหมายความว่าความยินยอมของคุณไม่เคยถูกถามเลย คุณก็แค่เกิดมา ไม่มีโอกาสได้เลือกว่าจะเกิดที่ไหน หรือเกิดจากใคร...
อนาธิปไตยคืออะไร? – บทที่ 1: คุณอยากเอาอะไรออกไปจากชีวิต?
Peam Pooyongyut อะไรคือสิ่งที่ทุกคนต้องการที่สุดในชีวิต? คุณต้องการอะไรมากที่สุด? อย่าลืมว่าเราทุกคนล้วนเหมือนกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ชายหรือหญิง รวยหรือจน สูงศักดิ์หรือต่ำต้อย ผิวขาว เหลือง แดง หรือดำ ไม่ว่าจะอยู่แดนดินแห่งใด เชื้อชาติไหน และศาสนาอะไร...
อนาธิปไตยคืออะไร ? – บทนำ
Peam Pooyongyut ผมอยากเล่าให้คุณฟังเกี่ยวกับอนาธิปไตย ผมอยากจะบอกคุณว่าอนาธิปไตยคืออะไร เพราะผมคิดว่ามันคงจะดีถ้าคุณรู้จักมันเสียก่อน อีกทั้งมันยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก และความเข้าใจที่มีต่อมันมักจะเป็นความเข้าใจผิดๆ แทบทั้งหมด ผมอยากบอกให้คุณรู้...