ผู้เขียน Gabriel Ernst [EN] & Pathompong Kwangtong [แปลไทย]
บรรณาธิการ Sarutanon Prabute
ภาพ Karuna Tilapaynat
So the million dollar question regarding the coup is: Why now? That’s what’s confusing so many Burma watchers.
คำถามโลกแตกเกี่ยวกับการรัฐประหารครั้งนี้ก็คือ ทำไมเป็นตอนนี้? คำถามนี้กวนใจผู้ติดตามสถานการณ์ในพม่าตอนนี้อย่างยิ่ง
To begin this article we must openly state that we do not like Suu Kyi. She has failed to really reform Burma during her years in charge. She has been a supporter of devastating neo-liberalism and has done nothing to challenge the on going genocide and civil war that devastates ethnic minorities in the country.
ก่อนอื่นเราต้องขอบอกก่อนเลยว่า เรามิได้พิศมัยอองซานซูจี เธอล้มเหลวในการปฏิรูปประเทศในช่วงเวลาที่เธออยู่ในตำแหน่ง เธอคือผู้สนับสนุนแนวทางเสรีนิยมใหม่อันโหดร้ายป่าเถื่อนและหันหลังเมินเฉยต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และสงครามกลางเมืองที่กระทำต่อชนกลุ่มน้อยหลากหลายชาติพันธ์ุในประเทศ
Many have considered Suu Kyi an apologist for the Burma army for years now and her appearance at The Hague international criminal court in 2019, where she literally defended the militaries genocide of the Rohingya, underscored that. That’s what makes it so surprising that the military have bothered with this coup, they still have total control over the armed forces, make tremendous profits through corruption illicit industries and generally are feared by the populace. They can pretty much do whatever they want, regardless of the civilian government. So why bother with the coup?
หลายคนมองว่าอองซานซูจีเป็นผู้แก้ต่างให้รัฐบาลทหารในห้วงเวลาหลายปีมานี้ด้วยซ้ำ คำให้การในชั้นศาลของเธอที่ปกป้องการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวโรฮิงยาโดยกองทัพ ณ ศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮกเมื่อปี 2019 เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดี นี่ทำให้การรัฐประหารของกองทัพครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจยิ่งนัก ทำไมพวกเขาต้องรัฐประหารทั้งๆ ที่กองทัพยังคุมกองกำลังติดอาวุธได้เบ็ดเสร็จ กองทัพยังคงทำกำไรมหาศาลจากอุตสาหกรรมทุจริตผิดกฎหมาย อีกทั้งผู้คนก็ยังหวาดกลัวพวกเขาอยู่ กองทัพสามารถทำสิ่งใดๆ ได้ตามใจปราถนาโดยไม่ต้องสนใจรัฐบาลพลเรือน แล้วทำไมเล่า ทำไมต้องรัฐประหาร?
The best answer we can give right now is that it’s a confluence of reasons. The first being personal. Suu Kyi, in the circles of the higher echelons of the Burma government, is not well liked at all. She’s considered extremely hard to work with and surrounds herself with a gerontocracy of yes men. She’s had major fallings out with a number of people formerly close to her, including a very public feud with her brother. This makes her look weak and thus makes a coup easier.
คำตอบที่ดีที่สุดที่เราจะให้กับทุกท่านได้ ณ ตอนนี้คือ มันมีหลายเหตุปัจจัยด้วยกัน หนึ่งคือเรื่องส่วนตัว อองซานซูจีไม่ได้เป็นที่รักในกลุ่มชนชั้นนำระดับสูงของรัฐบาลพม่าแม้แต่น้อย รอบๆ ตัวเธอมีแต่กลุ่มคนชราที่พร้อมเห็นด้วยกับเธอไปเสียทุกอย่าง การทำงานกับเธอจึงเป็นสิ่งที่ยากยิ่งนัก เธอเองมีปากเสียงกับหลายต่อหลายคนที่เคยใกล้ชิดเธอ อาทิการวิวาทะกับพี่ชายของเธอเองต่อหน้าสาธารณชน นี่ทำให้เธอดูอ่อนแอและการรัฐประหารเป็นไปได้ง่ายขึ้น
Secondly the USDP (military backed party) did embarrassingly poorly in the national elections late last year. To explain their bad performance a narrative grew that the elections were rigged, which honestly is quite absurd, but the embarrassment felt by the military certainly is not. These are bravado guys who don’t appreciate being shown up.
สอง พรรค USDP (ที่กองทัพหนุนหลัง) ทำคะแนนได้ย่ำแย่ในการเลือกตั้งระดับชาติเมื่อปีที่ผ่านมา เรื่องเล่าที่ค่อนข้างไร้สาระว่าด้วยการเลือกตั้งอันสกปรกเกิดขึ้นเพื่ออธิบายความล้มเหลวของพวกเขาครั้งนี้ ทว่าสำหรับพวกกองทัพแล้ว มันไม่ไร้สาระเลยสักนิด พวกเขาเป็นจอมวางท่าผู้ไม่นิยมการตกเป็นเป้าสายตาเท่าใดนัก
Thirdly Suu Kyi has been surrounding herself with foreign advisors, all of them die hard neoliberals, including one individual who quit the British embassy to join her advisory team. Historically the ideology of the military has been extremely hostile to the west, this was why they were such a isolated country during the junta years. This all traces back to British colonialism and the vein of anti-colonial thought in the higher levels of the military, who sought domestic protectionism from outside interference above all else. As such Suu Kyi’s decision to surround herself by foreign neo-liberal advisors goes hard against that and many of the economic reforms (opening up the country to large foreign business) have been pretty drastic. This likely enraged the military, more so the old brass who still are highly influential.
สาม อองซานซูจี รายล้อมด้วยที่ปรึกษาต่างชาติมากมาย พวกเขาทุกคนเป็นผู้อุทิศตนให้กับอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ หนึ่งในนั้นลาออกจากคณะฑูตสหราชอาณาจักรเพื่อมาเป็นที่ปรึกษาให้เธอ ว่ากันตามประวัติศาสตร์แล้ว กองทัพมีอุดมการณ์ชิงชังตะวันตกหัวชนฝา นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมรัฐบาลทหารของพม่าจึงมีนโยบายปิดประเทศในช่วงก่อนหน้านี้ ทั้งหมดทั้งปวงเป็นผลมาจากลัทธิล่าอาณานิคมอังกฤษและร่องรอยของความคิดต้านอาณานิคมที่ฝังรากลึกอยู่ในกองทัพ ผู้ลุ่มหลงคลั่งไคล้การปกป้องประเทศจากการแทรกแซงของต่างชาติ การที่อองซานซูจีตัดสินใจให้ฝรั่งมังค่าเสรีนิยมใหม่มาเป็นที่ปรึกษาของเธอนั้น ก็เสมือนการตบหน้าความกองทัพเข้าอย่างจัง และการปฏิรูปเศรษฐกิจ (เปิดประเทศเพื่อกลุ่มทุนต่างชาติขนาดใหญ่) ของเธอนั้นก็ค่อนข้างรุนแรง สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้กองทัพรวมไปถึงกลุ่มชนชั้นนำเก่าๆ ที่ทรงอิทธิพลอยู่เดือดดาลพอสมควร
Finally the head of the military who enacted the coup General Min Aung Hlaing was due to retire in 6 months. We don’t know a whole lot about his personal ambitions but perhaps he wasn’t content with a quiet retirement. For all we know he could be a staunch reactionary who pines for the old days of the junta. He’s promised elections one year from now so we will see.
สุดท้าย วาระเกษียณอายุของผู้นำกองทัพที่ทำการรัฐประหารครั้งนี้อย่างนายพลมี่นอองไลง์ก็ใกล้เข้ามาอีกเพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น เราไม่รู้นิสัยใจคอของเขาในหลายๆ อย่าง ไม่รู้ว่าความทะเยอทะยานส่วนบุคคลมีผลมาเพียงใด แต่เขาก็คงไม่พึงพอใจในการเกษียณอายุเท่าใดนัก ที่เรารู้ก็คือเขาต้องการรักษาแผลของพวกปฏิกิริยาที่คิดถึงคืนวันเก่าๆ ในห้วงเวลาเผด็จการทหาร เขาสัญญาว่าจะให้มีการเลือกตั้งในอีกหนึ่งปีถัดจากนี้ เรามารอดูกัน
สำหรับประวัติศาสตร์การเมืองในประเทศพม่า โปรดฟัง podcast #Analysand EP 14 ด้านล่างนี้ (ภาษาอังกฤษ)