ต้นฉบับ : ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม & สหายS!nk

Writers: Anonymous & สหายS!nk


มาร์กซ์กล่าวไว้ว่าแรงงานทั้งปวงล้วนแปลกแยก (Alienated) นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมคุณถึงรู้สึกหดหู่ตลอดเวลา และ นั่นไม่ใช่ความผิดของคุณ จะว่าเป็นโชคร้ายก็ได้นะ แต่คุณต้องเป็นคนหนึ่งที่แก้ไขมัน

Marx said that all workers are alienated. It’s why you feel depressed all the time, and it’s not your fault, but unfortunately, you have to be the one to fix it.


อรุณสวัสดิ์เช้าวันใหม่! 

Good Morning

ผมตื่นขึ้นมาอย่างโดดเดี่ยวในห้องเช่า.. คลานออกมาจากผ้าห่มฝ้ายซึ่งถูกปลูกและถักทอจากอินเดีย โดยมนุษย์ไร้ใบหน้า ที่ผมก็ไม่รู้จัก .. ผมเริ่มชงชาแก้วนึง ชานั้นถูกปลูกในเคนย่า โดยมนุษย์ไร้ใบหน้าอีกคน …

I wake up alone in a rented room. I get out of my cotton sheets, grown and woven in India by some faceless nobodies. I make a cup of tea, grown in Kenya by other faceless nobodies.

ขณะที่ผมจิบชา ผมก็สไลด์หน้าจอโทรศัพท์ซึ่งถูกสร้างที่ไหนสักแห่ง โดยใครก็ไม่รู้ ..ต่อมาผมหยิบเสื้อขึ้นสวมใส่ ซึ่งถูกเย็บขึ้นโดยใครก็ไม่รู้อีกคน ..ผมใส่หูฟังแล้วกระโดดขึ้นรถบัส ถูกสร้างซึ่งโดยมนุษย์ไร้ใบหน้า ถูกขับโดยใครก็ไม่รู้ .. ที่นี่ผู้คนหนาแน่นมาก มีใครก็ไม่รู้เดินกันแน่นขนัด .. 

As I sip my tea I scroll on my phone, its glass screen comes from somewhere, made by other nobodies. I get dressed in my clothes, made by no one, put in my headphones and get on the bus, built by no one, driven by nobody. It’s crowded, I’m surrounded by nobody.

ในที่สุดผมก็มาถึงที่ทำงาน ขายแรงงานของผมให้กับบริษัท จริงๆแล้ว คือ ขายให้เจ้าของบริษัท ที่ผมก็ไม่รู้จักชื่อเขาหรอก พวกเขาเป็นใครก็ไม่รู้เหมือนกัน .. และเช่นเดียวกัน ผมก็ทำงาน แรงงานของผมถูกส่งเข้าสู่ความว่างเปล่า..  เพือให้ใครก็ไม่รู้อีกคนนึง… เป็นใครก็ไม่รู้ เหมือนที่ผมกำลังเป็น 

I reach my place of work, sell my labour to a company, the owner of the company, I don’t know their name, they’re nobody. And so, I work, my labour goes into the void for another nobody, like me. 

“ดีจังเลยน้าที่ได้กลับมาทำงานในออฟฟิศ!” ใครก็ไม่รู้เอ่ยขึ้น “ใช่ๆ เห็นด้วย” ผมตอบ ..ในฐานะ”ใครก็ไม่รู้”

“Isn’t it great to finally be back in the office?” Says nobody “Yeah” I reply, nobody replies. 

เมื่อผมเดินทางกลับถึงบ้าน คงเพราะใช้เวลาทั้งวันไปกับการขายแรงงานตอนนี้ผมเลยเหนื่อยมาก ผมกดสั่ง Grab delivery ..

When I get home, having spent the bulk of my day selling labour, I’m exhausted. I order a Grab delivery

ใครก็ไม่รู้ปลูกข้าว และ ฆ่าไก่ ไม่มีใครทั้งนั้นแหละที่ปรุงกับข้าวจานนี้ขึ้น ..

No one grows the rice or kills the chicken, no one cooks it.

ไม่นานโทรศัพท์ก็ดัง ผมเดินผ่านประตูที่เช่ามาไปยังคนขับแกร็บ เขาเปิดกะบังหน้าหมวกกันน็อคขึ้น ผมเห็นหน้าเขา! เขา คือ มนุษย์”มี”ใบหน้า!

A tiny dot on my screen approaches me, I go to my rented door, the driver lifts up his helmet visor. I can see him, his face, he’s somebody!

 “ครับ” ผมพูดกับเขา..เขาเองก็เห็นหน้าผม ผมก็ คือ มนุษย์มีใบหน้าเหมือนกัน!

 “ครับ” เขาพูดตอบพร้อมกับปิดกะบังหน้าลง .. 

“Krup”. He looks at me too, he sees a face, I’m somebody! “Krup”.

มนุษย์ไร้ใบหน้าจากไป …

The visor goes back down, nobody leaves.

ผมกินข้าวที่ซื้อมาพร้อมกับเลื่อนดูมีมในโทรศัพท์ไปด้วย 

I eat my food as I scroll through memes on my phone…

มีมนั้นเป็นรูปผู้ชายดูซึมเซาซึ่งมีตัวหนังสือ “ME” แปะอยู่บนตัว 

There’s a sad looking guy with the text “ME” covering him.

“ฮ่าๆ นี่มันกูชัดๆ”  ..ผมรำพึง

“Hah, it’s me”.


“ทุน”

Capital

ในทุกๆมิติของชีวิตในแต่ละวันของผม ล้วนถูกกำหนดโดย “ทุน” เป็นเช่นนี้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน หรือ การพักผ่อนหย่อนใจ .. ลึกลงไปในคีย์บอร์ดที่ผมกำลังพิม หรือ จะหน่วยเส้นประสาทที่เอาคำเหล่านั้นมาต่อกันเป็นประโยค พวกมันล้วนเป็นผลผลิตของ “ทุน” ไม่แปลกใจเลยว่าผม คือ ชายดูหดหู่คนนั้น ที่เป็นมีมอยูู่ในโทรศัพท์

Every facet of my day was mediated by and for capital, as it is every day. Both work and pleasure, right down to the laptop keys I’m typing on right now and the neurons in my brain putting these words together, they’re all a product of capital… No wonder I’m the depressed guy on my phone. 

ซึ่งมันมีคำสำหรับอธิบา่ยสภาวะแบบนี้อยู่ มาร์กซ์เรียกมันว่า “สภาวะแปลกแยก” (Alienation) ในบริบทนั้นมาร์กซ์อธิบายว่ามัน คือ ความรู้สึกของการถูกแปลกแยกจากแรงงานของตัวเอง ในยุคสมัยของมาร์กซ์ เหล่าคนงานที่ยืนเรียงแถวกันตามสายพานการผลิต ได้ทำการขัดเงาโลหะ หรือไม่ก็เจาะรูบนไม้ ซ้ำแล้ว.. ซ้ำเล่า.. 

There’s a word for this, Marx called it alienation. In that context, Marx was describing the feeling of being separate from your labour. At the time, workers on the assembly line would polish metal, or cut holes in wood, over and over again, the same action, as the products would move down the assembly line.

ด้วยการปฏิบัติแบบเดียวกัน ในขณะที่ผลผลิตก็เคลื่อนที่ไปตามสายพาน ..เหล่าคนงานไม่ได้ทำการ “สร้าง” สิ่งใดอย่างแท้จริงเลย กลับกันพวกเขาถูกโดดเดี่ยวออกจากกัน ถูกแปลกแยกออกจากอะไรก็ตามที่เขากำลังผลิต เหล่าคนงานไม่ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์,กำหนดเรทราคา หรือ ขายมัน และผลกำไรที่จะเกิดจากผลผลิตดังกล่าว ก็เข้าสู่กระเป๋าเจ้าของโรงงาน พวกเขาถูกแยกออกจากทุกสิ่งที่พวกเขาผลิตโดยกำลังแรงงานของเขา พวกเขา “ถูกแปลกแยกออกจากแรงงานของตัวเอง” 

The workers would never truly create something, rather they were individualised, separated from whatever it was they were producing. The worker wouldn’t design the item, select the price or sell it, and whatever profit from the item’s production would go to the factory owner. They were separated from whatever they created with their labour, they were “alienated from their labour”. 


การผลิต

Production

ทุกวันนั้นอุปกรณ์และเครื่องมือของมนุษย์เราพัฒนาขึ้นไปมาก แต่ทว่าโซ่ตรวนที่ล่ามพวกเรากลับพัฒนาเร็วยิ่งกว่า พวกเราไม่จำเป็นต้องทำงานในโรงงานมากเหมือนยุคก่อน ๆ …

Today, our tools have evolved but our chains have evolved faster. We’re less likely to be in the factories but we’re alienated from our labour more so than ever.

ทุกวันนี้พวกเราส่วนใหญ่ไม่แม้แต่จะได้สัมผัส “ผลผลิต” .. ผลผลิตนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ มันเป็นดั่งอากาศธาตุ อยู่ในที่ไหนสักแห่งระหว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ฺ  บางทีผลผลิตก็มาในรูปแบบของการ -ไปจอดรถใต้คอนโด เคาะประตู เอาถุงไปแขวนที่ประตู พูด “ครับ” แล้วเช็คในแอพสำหรับการเดลิเวอรี่ครั้งต่อไป-

Many of us don’t even touch the product today, it’s invisible, ethereal, on a cloud somewhere between computer screens. Or perhaps we just park below a condo, knock on a door and hand over a bag “Krup” and check the app for the next delivery. 

แน่นอนว่าพวกเราต่างกำลัง “ทำงาน” แต่พวกเราส่วนใหญ่ไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าเรากำลัง “สร้าง” ผลผลิตอะไรกันแน่ 

We’re definitely working, but many of us can’t even say what exactly we’re producing.


การบริโภค 

Consumption

ในขณะที่พวกเราต่างแปลกแยกออกจากการผลิต แน่นอนว่าพวกเราก็แปลกแยกออกจากการบริโภคด้วย ผู้คนที่ผลิตสิ่งของที่เราได้กิน ได้ใช้ ส่วนใหญ่เปรียบเสมือน “มนุษย์ไร้ใบหน้า” ไม่ว่าจะเป็นหญิงชาวบังคลาเทศในโรงงานนรก เรือตกปลาที่อยู่ในทะเลแสนไกล หรือ ชาวนา ที่เราเห็นเป็นภาพเบลอๆ เมื่อมองผ่านกระจกรถเมื่อคุณขับรถผ่านทุ่งนาของพวกเขา 

While we’re alienated from our production, we’re of course, also alienated from our consumption. Those who do produce the things we touch are often the invisible people, the Bangladeshi women in sweatshops, the fishing boat far out at sea or the blurry rice farmers you see from a distance as you drive by their field.

ใครกันที่ปลูกข้าวของผม

Who grew my rice?

ใครกันที่ฆ่าไก่ให้ผมกิน

Who killed my chicken?

ใครกันเป็นคนถักทอเสื้อตัวนี้

Who made my clothes?

ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกัน 

I don’t know.


Power – ทรงพระเจริญ

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้คุยกับเพื่อนชาวอเมริกันท่านหนึ่ง เขารู้สึกแปลกแยก และ ในที่สุดความรู้สึกแปลกแยกนี้ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นความโกรธ 

I spoke to my friend in America recently, he was feeling alienated. This alienation had turned to anger.

“ กูเกลียดประเทศเหี้ยนี่ ! กูอายุ 30 ปีพร้อมมีใบปริญญานะเว้ย! แต่ดันมีรายได้เท่าค่าแรงขั้นต่ำ หนี้กยศ.ก็ท่วม กูคงไม่มีวันได้ซื้อบ้าน มีลูก หรือมีเงินพอใช้หลังเกษียณ โคตรบัดซบ! ประเทศนี้บริหารโดยพวกโจร ..

“I hate this fucking country, I’m 30 years old with a uni degree and I only earn minimum wage. I have huge student debts. I’m never going to be able to buy a house, have kids or retire. It’s bullshit. The country is run by fucking crooks.

บางครั้งกูคิดว่าอยากไประเบิดพลีชีพใส่สภาคองเกรสแม่งเลย แต่มันคงไม่ได้เปลี่ยนอะไร พวกนักการเมืองไม่ได้มี “อำนาจ” จริงๆด้วยซ้ำ พวกที่มีอำนาจจริง คือ พวกนายธนาคาร และ บริษัทยักษ์ใหญ่ โคตรบัดซบ!” 

Sometimes I think about blowing myself up in the congress, but that wouldn’t even do anything, the politicians don’t even have any power anyway… It’s all the fucking banks and corporations, it’s such bullshit.” …

..ผมว่าเขาพูดถูก

…He’s right.

แนวคิดแบบนี้แพร่หลายขึ้นจนเป็นเรื่องปกติในประเทศที่มี “ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมล้ำสมัย” ระบบเศรษฐกิจพัฒนาไปไกลถึงขั้นที่ว่า มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเห็นทางปลดแอก คุณอาจจะฆ่าประธานาธิบดีได้ แต่จะมีคนอีกนับไม่ถ้วนที่กำลังรอเสียบตำแหน่งดังกล่าว และ คนที่รอเป็นประธานาธิบดีแต่ละคน ก็เป็นคนประเภทเดียวกันอีกนั่นแหละ คุณอาจระเบิดธนาคารทิ้ง แต่เงินมันไม่ได้อยู่ในธนาคารสักหน่อยนี่! เราไม่มีทางเห็นมันได้หรอก มันอาจอยู่ใน Cloud ที่ผูกอยู่กับฮาร์ดไดรฟ์ที่ไหนสักแห่ง 

This attitude is increasingly common in “advanced capitalist economies”. The economy has developed so far that it’s almost impossible to see your subjugation. You could kill the president, but there are countless more of them just waiting to replace him, each the same as the last. You could blow up the bank, but the money isn’t even really there. It’s invisible, on some cloud tethered to some hard-drive nowhere. 

ความรู้สึกที่เพื่อนผมคนนี้อธิบายไว้ คือ ความรู้สึกที่ไม่เพียงแต่ “แปลกแยกออกจากแรงงานตัวเอง” เท่านั้นหากแต่เขายังแปลกแยกจากการถูกกดขี่ด้วย ซึ่งไม่ได้แปลว่าเขาไม่ถูกกดขี่นะ แต่หมายถึงเขารู้ว่าเขาถูกกดขี่ แต่เขาไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า ถูกกดขี่อย่างไร, ทำไม และ ที่สำคัญที่สุด คือ “ใคร” กำลังเป็นผู้กดขี่เขาอยู่กันแน่

The feeling my friend described is being alienated from their labour but also from their oppression. They know they’re oppressed, but they can’t precisely say how, why or most importantly by who. 

ในบางเหตุผลผมก็คิดว่าคนไทยเรานั้นยังโชคดี เพราะเราเห็นได้ชัดเจนว่าผู้กดขี่ของพวกเรา คือ ใคร 

In some ways I think Thai people are lucky. The oppressor is so clear.

ชื่อของเขา คือ ประยุทธ,ชื่อของเขา คือ วชิราลงกรณ์ ผมเห็นหน้าของพวกเขาวันละร้อยครั้งได้ เช่นเดียวกัน ผมเห็นพวกลูกสมุนของเขา พวกสลิ่ม พวกทหาร พวกตำรวจ พวกมันมีอยู่ทุกที่ ลองจินตนาการดูว่าถ้าชีวิตของคุณเป็นเหมือนเดิมเป๊ะ ๆ แต่กษัตริย์เป็นกษัตริย์ล่องหน ทหาร, ตำรวจ, รัฐ ล่องหนกันหมด

His name is Prayut, his name is Vajiralongkorn, I see his face hundreds of times a day, reminding me. So too do I see his minions, the military, the cops… the military… They’re everywhere. Imagine if your life was exactly the same, but the king was invisible, the military, the police, the state, invisible.

เชี่ยเอ้ย! ผมว่าอย่างน้อยผมก็อยากรู้ชื่อ “นายทาส” ของผมเอง

Shit, I think I’d like to know the name of my slave master.


ความรัก

Love

นั่นแหละ! พวกเราทุกคนต่างแปลกแยก,กระจัดกระจาย,โดยทำให้เป็นปัจเจก ..แล้วอะไรกันแน่ที่เรากำลังขาด ? ชีวิตพวกเราจะเป็นยังไงถ้ามันไม่ถูกแปลกแยกแบบนี้ ? พวกเราจะรู้สึกยังไงกัน ?

So, we’re all alienated, isolated, separated, individualised… What are we missing? What would life be like if we weren’t alienated this way? How would we feel? 

ผมเองก็มีแฟน ผมคิดว่าผมก็กำลังมีความรัก คิดว่านะ.. แต่ยังไงก็ตามชีวิตของผมก็ถูกควบคุมโดย “ทุน” ความแปลกแยกนั้นหยั่งรากไปถึงใจกลางของการดำรงอยู่ของผมเลย ผมแปลกแยกจากทุกสรรพสื่งรอบตัว แล้วมีหรือ ที่จะไม่แปลกแยก.. ในเรื่องความรัก 

I have a girlfriend. I think I’m in love. I think so. My whole life however, is mediated by capital, I’m alienated to the core of my being, I’m alienated from everything around me, why is love any different?

ก็เหมือนคนที่ชอบในอาชีพที่ตัวเองทำ ถ้าพูดตรงๆ ผมก็ชอบงานที่ผมทำอยู่ ผมรู้ว่าผมกำลังถูกขูดรีด และ กำลังแปลกแยกออกจากแรงงานของตัวเอง แต่ผมชอบเนื้องานที่ผมทำด้วยใจจริงนะ ผมว่าก็คงมีอีกหลายคนที่ก็ชอบงานที่ตัวเองทำเหมือนกัน แต่สิ่งที่ผมไม่อาจจินตนาการได้ คือ ผมจะรักงานที่ผมทำได้มากมายแค่ไหน ถ้าหากว่าผมไม่ได้กำลังถูกขูดรีด และ แปลกแยกจากงาน .. มันคงจะดีมากจนไม่อาจจินตนาการได้เลยล่ะ!

It’s like those people who like their jobs. Honestly speaking, I like my job. I know I’m exploited and alienated from my labour, but I do genuinely like my job, I think quite a lot of people do. What I can’t imagine is how much I’d like my job if I wasn’t exploited and alienated. I honestly can’t imagine it. 

กลับมาว่ากันเรื่องความรัก ผมเป็นเพียงผลผลิตของ “ทุน” เป็นผลผลิตของแรงงานที่แปลกแยก และ ถูกกดขี่ “เธอ” เองก็เช่นกัน ผมแน่ใจว่าเรามีความแปลกแยกจากกัน แต่ผมไม่สามารถเห็นได้ชัดว่า อย่างไร ? ทำไม ? หรือ เพราะใครทำ ? ความรักจะเป็นยังไงกันหนอถ้าหากมันไม่ถุกสร้างขึ้นในโลกที่แสนแปลกแยก ? ผมก็ไม่รู้ ..

So again, how is love any different? I am a product of capital, a product of alienated labour and oppression, and so is she. I’m sure we’re alienated from one another, but I can’t see how, or why, or by who. What could love be if it wasn’t built in an alienated world? I don’t know…


การข้ามผ่านความแปลกแยก 

Beyond Alienation

ถ้างั้นเราจะหลีกเลี่ยงสภาวะแปลกแยกได้อย่างไร ? ผมคิดว่ามันไม่มีทาง “เลี่ยง” มันมีแต่ต้องทะลุ ผ่านมันไปเท่านั้น พวกเราต้องกล้าลืมตามองมัน เพื่อทำความเข้าใจมัน เพื่อจะชนมันให้ทะลุผ่านไปให้ได้ มาร์กซืเองก็ได้เขียนเรื่อง “สำนึกทางชนชั้นไว้” มัน คือ ภาวะเมื่อแรงงานตระหนักได้ถึงชนชั้นตัวเอง และ ผลประโยชน์แห่งชนชั้นตน เช่นตอนแรงงานตระหนักว่าตัวเองกำลังถูกเจ้านายของขูดรีด เมื่อนั้นเขาเกิดสำนึกทางชนชั้น นี่คือก้าวแรกสู่การปฏิวัติ ผมคิดว่าเราต้องประยุกต์ใช้แนวคิดนี้ เพื่อจะตระหนักได้ถึงสภาวะแปลกแยก ที่พวกเราต่างเผชิญร่วมกัน 

So how to get around this alienation? I think there is no way around it, I think we have to go through it. We have to see it and understand it in order to move beyond it. Marx also wrote about class consciousness, which is when people become aware of their class and their class interests, like when workers realise they’re being exploited by their boss, they become class conscious. This is the first key step towards revolution. I think we need to adapt this concept, to become alienation conscious.


สวัสดีครับ, ผมเอง.. คนที่ซ่อมจักรยานให้คุณ

Hi, I fixed your bike

ผมเคยทำงานเป็นช่างซ่อมจักรยาน ผมมักนั่งอยู่ร้านเพื่อซ่อมจักรยานแลกค่าแรงขั้นต่ำอยู่ทั้งวัน ลูกค้าไม่ค่อยได้เห็นผมหรอก มันคงดีเหมือนกันหากพวกเขาคิดถึง หรือ ชื่นชมผมบ้าง ..

I used to work as a bicycle mechanic, I would sit in the back of the workshop all day fixing bikes for minimum wage. The customers would never see me, it would have been nice if they thought about me or appreciated me, I know they didn’t.

 ผมรู้ว่าพวกเขาไม่ตระหนักถึงผมหรอก  มันไม่ง่าย และ มันก็ไม่ใช่ฟีลที่ดีเลยที่ต้องมานั่งคิดถึง “มนุษย์ไร้ใบหน้า” ที่ซ่อมจักรยานให้คุณ ถักทอเสื้อที่คุณใส่ หรือ ปลูกข้าวให้คุณกิน 

It’s not easy and it’s not nice to think about the invisible people who fix your bike, make your clothes or grow your rice.

มันทำให้คุณรู้สึกแย่..

It makes you feel bad

 แต่อย่างน้อยความรู้สึกแย่นั้น มันหาใช่ความแปลกแยกหากแต่มัน คือ ความรู้สึกของการเชื่อมต่อกับเพื่อนมนุษย์  จริงๆ แล้วมันเป็นรากฐานของการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อที่จะสู้ความอยุติธรรม และ การขูดรีดเราจำเป็นต้องมองมัน เพื่อเข้าใจมัน พวกเราต้องตระหนักถึงความแปลกแยกที่เกิดับพวกเรา เราต้องตระหนักถึงจิตสำนึกของผู้ถูกแปลกแยก เมื่อนั้นเราจึงได้พลังจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และ ความเป็นสหาย

But at least this bad feeling isn’t alienation. It’s the feeling of being connected to exploitation, in fact it’s the foundation for building solidarity. To fight injustice and exploitation we have to see it and understand it. We have to become aware of our alienation, gain alienation consciousness, so as to fight it with solidarity and comradeship.

มันพึงได้มาจากการที่เราแคร์คนอื่น ไม่ใช่ด้วยเหตุผลซับซ้อนอันใด เพราะเราเองก็หวังว่าจะมีใครสักคนแคร์เราโดยไม่ต้องมีเหตุผลอะไรซับซ้อนเช่นเดียวกัน 

Caring for others for no other reason than we would hope someone else cares for us.


ผมคลานกลับขึ้นไปบนเตียง ตรงเข้าไปนอนใต้ผืนผ้าห่มฝ้ายจากหยาดเหงื่อแรงงานชาวอินเดีย พยายามปรับท่านอนให้สบายเพื่อพักผ่อนจากการถูกขูดรีด และ ขูดรีดคนอื่นๆ มาตลอดทั้งวัน

I crawl back in to bed, wrap myself in the exploitative cotton sheet, comforting my body that is tired from its long day of its exploitation and exploiting others.