“All Cops are Bastards (ตำรวจทุกคนเป็นคนเลว)” หรือคำย่อ ACAB เป็นวลีติดหูในภาษาอังกฤษที่ทั่วทุกมุมโลกใช้ประณามความรุนแรงจากตำรวจ อย่างไรก็ดี วลีดังกล่าวเป็นมากกว่าแค่วลีที่ติดหูเท่านั้น เพราะมันยังมีที่มาที่ลึกซึ้ง ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงอำนาจของรัฐที่เป็นสถาบัน ความรุนแรง และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และกรรมสิทธิ์เอกชน ในการทำความเข้าใจบทบาทที่ แท้จริง ของ ตำรวจ และเหตุผลที่ทำให้ พวกเขาทุกคนเป็นคนเลว เราต้องสำรวจบทบาทของรัฐภายใต้ระบบทุนนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเกี่ยวข้องกับความรุนแรงและกรรมสิทธิ์เอกชน

รัฐ

เมื่อพูดถึงความรุนแรงของตำรวจ เพื่อที่เราจะได้เริ่มเห็นเค้าลางบทบาทของตำรวจ เราจำเป็นต้องพิจารณาสิ่งที่รัฐกระทำภายใต้ระบบทุนนิยมเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นรัฐเผด็จการหรือรัฐประชาธิปไตย หน้าที่โดยรวมของรัฐคือ การดูแล พลเมืองของรัฐนั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะมาในรูปแบบของการดูแลปกป้องเขตแดน การดูแลสวัสดิการหรือความมั่นคงในชีวิตขั้นพื้นฐาน และการดูแลการดำเนินการของรัฐอย่างราบรื่น แม้ว่าคำกล่าวถึงรัฐในอุดมคติข้างต้นจะมีบางส่วนที่ถูกต้อง แต่มันไม่ได้กล่าวถึงอำนาจการปกครองที่อยู่เหนือชีวิตของพวกเราทุกคน ซึ่งแท้จริงแล้ว มันคือทุน (เงิน) ต่างหาก ในเมื่อรัฐปกครองพลเมืองของรัฐแล้ว ทุนก็ปกครองรัฐ และกำหนดทุกการกระทำที่มาจากรัฐ หรือพลเมืองของรัฐทั้งสิ้น

เมื่อเรามองย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์พัฒนาการของทุนนิยมใน 5 ศตวรรษที่ผ่านมา เราจะเห็นถึงบทบาทที่สำคัญของรัฐในฐานะกลไกที่การเอื้ออำนวยให้ระบบทุนนิยมทำงานอย่างราบรื่น จนกระทั่ง ณ ช่วงเวลาหนึ่ง เรจะเห็นได้ว่าทุนสามารถพัฒนาและเข้าครอบงำอำนาจรัฐได้สำเร็จ ในวันนี้ ทุนกลายเป็นผู้ครองรัฐ เช่นเดียวกับที่รัฐดำเนินบทบาทในการปกป้องทุนไปเสียแล้ว ความสัมพันธ์รูปแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจนมากหากท่านเป็นผู้ติดตามการเมือง

กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม หากเราพิจารณาดังกล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เราจะพบว่ารัฐเป็นองค์ประกอบสำคัญของหนึ่งในทหารเสือของระบบทุนนิยม หรือกรรมสิทธิ์เอกชน เพราะรัฐจัดประเภทและบังคับใช้กฎหมายที่ระบุว่าสิ่งใดเป็นหรือไม่เป็นกรรมสิทธิ์เอกชนนั่นเอง

ตัวอย่าง:

ร้านเบเกอรี่ขนาดใหญ่จ้างคนงานทำขนมผู้หญิงจำนวนกว่าร้อยคน เป็น กรรมสิทธิ์เอกชนของนายทุน 

สลัม ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนงานร้านเบเกอรี่ เป็น กรรมสิทธิ์เอกชนของนายทุน 

ขนมปังที่คนงานร้านเบเกอรี่ผลิต เป็น กรรมสิทธิ์เอกชนของนายทุน

ถ้าคนงานร้านเบเกอรี่ซักคนตัดสินใจที่จะขโมยขนมปังหนึ่งแถวที่เธอทำกลับไปบ้านให้คนในครอบครัวได้รับประทานแล้ว เจ้าของโรงงานก็สามารถฟ้องเธอในที่เธอลักขโมยกรรมสิทธิ์เอกชนของพวกเขาภายใต้อำนาจของรัฐผ่านศาลได้ กล่าวโดยย่อก็คือ รัฐเป็นผู้จัดประเภทและบังคับใช้กฎหมายสิทธิ์เหนือกรรมสิทธิ์เอกชนของชนชั้นกระฎุมพีนั่นเอง ความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้ในบริบทของการปฏิวัติ ที่แรงงานจะต้อง ยึดปัจจัยการผลิต หรืออย่างน้อยก็ก่อตั้งสหภาพแรงงาน

ตัวอย่าง

คนงานของโรงงานเบเกอรี่ (ซึ่งเป็นโรงงานนรก) ถูกกดค่าจ้าง ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และถูกใช้แรงงานอย่างหนัก พวกเขาจึงรวมกันตั้งสหภาพแรงงาน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ->

นายทุนผู้เป็นเจ้าของโรงงานเบเกอรี่ไม่ต้องการให้คนงานตั้งสหภาพ และไล่คนงานที่เข้าร่วมสหภาพออก ->

คนงานปฏิเสธที่จะถอนการชุมนุมออกจากโรงงาน จนกว่าเจ้าของโรงงานจะยอมรับการตั้งสหภาพแรงงาน และยอมรับข้อเรียกร้องของสหภาพ ->

เจ้าของโรงงานแจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีต่อคนงานที่ชุมนุมประท้วง ->

ตำรวจ

หากมองอย่างผิวเผินแล้ว บทบาทของตำรวจดูเหมือนจะเป็นไปเพื่อการปกป้อง พวกเรา หรือพลเมืองทั่วไป อย่างไรก็ดี เราคงต้องย้ำอีกครั้งว่า พวกเราต้องพิจารณาบทบาทเหล่านั้นให้รอบด้าน แม้แต่ด้านของความรุนแรงจากตำรวจที่เห็นได้ชัดอีกหลากหลายกรณีที่ทำให้เราต้องตั้งคำถามกับบทบาทของตำรวจที่เราเคยรับรู้กันมา เพราะในความเป็นจริง ตำรวจมีหน้าที่ในการบังคับใช้อำนาจรัฐเสียต่างหาก กล่าวโดยย่อ หากรัฐสร้างกฎหมายแล้ว ตำรวจก็มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ไม่ว่ากฎหมายดังกล่าวจะได้รับการเห็นชอบจากประชาชนหรือไม่ก็ตาม กฎหมายเหล่านี้ก็ถูกบังคับใช้อย่างโจ่งแจ้งพร้อมกับ ความรุนแรง เพราะหากคุณไม่เชื่อฟังคำสั่งของตำรวจแล้ว ตำรวจก็ต้องใช้อำนาจเพื่อให้คุณเชื่อฟัง

ความรุนแรงที่มาพร้อมกับการบังคับกฎหมายของตำรวจนี้ มักถูกเรียกกันในวงกว้างว่า “การผูกขาดความรุนแรง (Monopoly on Violence)” ซึ่งมีความหมายว่า รัฐ (ที่ใช้อำนาจผ่านตำรวจ) เป็นหน่วยเดียวเท่านั้นที่จะสามารถใช้อำนาจบริหารได้ ดังนั้นแล้ว ความพยายามใดก็ตามจากผู้ที่ไม่ใช่รัฐที่ต้องการเรียกร้องความยุติธรรมจะกลายเป็นสิ่งกฎหมาย และกลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยรัฐ เมื่อเป็นเช่นนั้น อำนาจบริหารของรัฐจะถูกบังคับใช้และธำรงรักษาผ่านการใช้ความรุนแรง หากกล่าวโดยย่อ รัฐจะมีอำนาจในการบริหารได้ ก็ผ่านการที่รัฐเองผูกขาดความรุนแรงซึ่งผ่านการบังคับใช้กฎหมายของตำรวจเท่านั้น

ตำรวจที่ดีไม่มีอยู่จริง

หากเป็นเช่นนั้น มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีตำรวจที่ดี เพราะบทบาทหน้าที่ทั้งหมดของตำรวจล้วนแต่เป็นไปเพื่อการรักษาผลประโยชน์จากระบบกรรมสิทธิ์เอกชนของชนชั้นนายทุนทั้งสิ้น แม้ว่าบางครั้ง ตำรวจอาจทำใน “สิ่งที่ดี” ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง โครงสร้างอำนาจของตำรวจที่มีไปเพื่อบังคับใช้อำนาจของรัฐก็ทำให้ “สิ่งดี ๆ” ที่ตำรวจแต่ละคนอาจทำในฐานะปัจเจกและเป็นสิ่งที่พนักงานตำรวจยึดถือนั้นไร้ความหมาย ตัวอย่างเช่น ตำรวจนายหนึ่งอาจรักษาชีวิตคนคนหนึ่งได้ ซึ่งนั่นเป็น สิ่งที่ดี แต่มันไม่ได้ทำให้เขาเป็น ตำรวจที่ดี และนี่เป็นเหตุผลของการเพรียกหา การล้มล้างระบบตำรวจ (Abolish the Police) ดังขึ้น เราจำเป็นต้องหมั่นจินตนาการและทดลองวิธีการแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการรักษาความยุติธรรม เช่น กองกำลังปกป้องชุมชน กรรมการจัดการความขัดแย้งที่มาจากประชาชน และอื่น ๆ โดยสรุปแล้ว ตำรวจที่ดีคือตำรวจที่ลาออกไปแล้วเท่านั้น