ผู้แปล GoodDay

ตีพิมพ์ครั้งแรกใน The Tricontinental ในปี พ.ศ. 2512 (1969)

เมื่อชาวนาไทยกลุ่มแรกถูกขับไล่ออกจากที่ดินเพื่อใช้เป็นพื้นที่สร้างฐานทัพของสหรัฐอเมริกา กลุ่มคนที่ถูกส่งตัวมาจากวอชิงตันก็เข้ามาอยู่ในกรุงเทพก่อนหน้านั้นมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นกลุ่มคนผู้กำกับปฏิบัติการลับให้ชนชั้นนำขายชาติ

สหรัฐอเมริกาเริ่มปรากฏตัวในไทย (โดยประเทศไทยนั้นมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 574,000 ตารางกิโลเมตรและมีเขตแดนติดกับพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย) ตั้งแต่การสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่สอง

ในเวลานั้น ปี ค.ศ. 1946 ประเทศอังกฤษไม่สามารถมีอิทธิพลเหนือประเทศไทยได้อีกต่อไป เนื่องจากสงครามทำให้อังกฤษอ่อนแอลง นอกจากนั้น ญี่ปุ่นเองก็ประกาศยอมแพ้สงคราม ทำให้กองกำลังจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นไม่มีข้ออ้างให้ต้องตรึงกำลังภายในประเทศที่เป็นหัวใจสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีก

การแทรกแทรงทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาในเขตแดน(ไทย)ดังกล่าวนั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ซึ่งเขตแดน(ไทย)ใช้เวลาหลายศตวรรษจนก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาเป็นจักรวรรดิสยาม โดยหนึ่งในปัจจัยนั้น คือ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายมหาศาล ปัจจัยอีกอย่างคือ ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ( ประเทศไทยมีเขตแดนติดกับสี่ประเทศ ตั้งอยู่ใกล้เวียดนาม และประเทศไทยยังสามารถถูกใช้เป็นฐานทัพเพื่อโจมตีสหภาพโซเวียตและจีนได้)

ในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1965 ช่วงที่นายพลเอิร์ล จี วีลเลอร์ (Earl G. Wheeler) มาเยี่ยมเยือนกรุงเทพมหานคร เขาให้ความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นจุดที่เอาไว้ใช้โจมตี “จุดอ่อนของสหภาพโซเวียต” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ในการยึดครองทวีปเอเชียทั้งหมดหลังจากทำลายสาธาณรัฐประชาชนจีนโดยอาวุธนิวเคลียร์ได้

ตั้งแต่แรกเริ่ม สหรัฐอเมริกาใช้รูปแบบวิธีการลงทุนโดยตรงซึ่งกอบโกยผลประโยชน์ในพื้นที่อย่างมหาศาลภายในช่วงสองปี การลงทุนโดยตรงเหล่านี้ดำเนินไปจนถึงจุดที่ว่า มันอำพรางตัวเองเป็น “ความช่วยเหลือ” จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งในขณะนั้น ตัวเลขการลงทุนพุ่งสูงถึง 850 ล้านดอลล่าสหรัฐต่อปี โดยในปีค.ศ. 1959 มีกิจการของสหรัฐฯในประเทศไทย ถึง 19 แห่ง โดย 2 แห่งเป็นของเนลสัน ร็อกกี้เฟลเลอร์ (Nelson Rockefeller) ซึ่งเขาครอบครองธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเกือบทั้งหมด ส่วนพวกนักลงทุนหลัก ๆ ก็คือสแตนดาร์ด ออยล์ (Standard Oil) และคาลเท็กซ์ (Clatex)

ช่วงต้นปีค.ศ. 1949 การลงทุนมูลค่าหลายล้านดอลล่าสหรัฐฯ ในไทยก็เริ่มที่จะผลิดอกออกผลอย่างรวดเร็ว กระทั่งล่วงเลยมาในปีค.ศ. 1957 ผลกำไรก็เติบโตขึ้นเป็น 6 เท่าของเงินที่ลงทุนไปในตอนแรก เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ ต้องไม่ลืมว่า กรุงวอชิงตันได้กอบโกยผลประโยชน์ไปมหาศาลจากการปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของสหรัฐอเมริกา (Import-Export Bank)

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะการลงนามใน “ข้อตกลงว่าด้วยการร่วมมือเฉพาะทางและทางเศรษฐกิจ” (Agreement for Economic and Technical Collaboration) จากระบอบหุ่นเชิดในกรุงเทพมหานครและสหรัฐฯ ในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1950

นับตั้งแต่กลุ่มชนชั้นนำยึดอำนาจในกรุงเทพฯ ซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีมาร์แชล ถนอม กิตติขจร (Marshall Thanon Kittikachorn) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพลประภาส จารุเสถียร (Praphas Charustien) โดยมีเหล่านักการทูตสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนทุนผูกขาดของสหรัฐฯ ทำให้สามารถเจาะทะลวงประเทศไทยได้อย่างสะดวกสบายไร้อุปสรรคขวางกั้น และสามารถวางโครงสร้างให้เป็นไปตามการนำของตนและตามความสะดวกสบายของตนอีกด้วย

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พวกเขากำลังสร้างสิ่งปลูกสร้างอันสูงตระหง่านในกรุงเทพฯ เพื่อใช้เป็นสำนักงานของกลุ่มทุนผูกขาดสหรัฐฯ พวกเขาก็กำลังสร้างค่ายหทารโดยมีจุดหมายเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการปราบปรามพวกขบวนการปลดปล่อย (liberation movements) ภายในบริเวณนั้นด้วย ในปัจจุบัน จึงมีฐานทัพเรือและอากาศ ลานจอดเครื่องบิน คลังแสง คลังน้ำมัน ค่ายฝึกรบพิเศษ ค่ายหน่วยรบพิเศษกองทัพบกสหรัฐ (green beret) ฯลฯ รวมกว่า 300 แห่ง 

ระบอบทหารที่ครองอำนาจในประเทศไทยอยู่ทุกวันนี้ นั้นร่วมมือกับนโยบายกรุงวอชิงตันอย่างกระตือรือร้น อย่างแรกที่เราต้องระลึกคือ ประเทศไทยส่งคนไปช่วยสหรัฐรบในสงครามรุกรานสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี โดยทุกวันนี้ พวกเขายังส่งทหารรับจ้างไปร่วมทำสงครามรุกรานคนเวียดนามอีกด้วย

ในขณะเดียวกัน ระบอบกรุงเทพไม่ได้ลงนามทางการทหารแค่เฉพาะกับสหรัฐอเมริกา แต่รวมไปถึงกับระบอบเวียงจันทน์ในลาว และลงนามรวมกับระบอบพม่าและมาเลเซียในการปราบปรามการสู้รบแบบกองโจรภายในพื้นที่ของประเทศที่อยู่รอบ ๆ ประเทศไทย

กองทหารของกองทัพไทยก็ได้เข้าร่วมการรุกรานพื้นที่ส่วนกลาง (neutral zone) ของกัมพูชา และกระทั่งส่งกองกำลังทหารปฏิกิริยาที่รู้จักกันในชื่อ “เขมรเสรี” (free Khmer) เพื่อโจมตีชาวกัมพูชาและก่อปัญหาให้แก่ผู้มีอำนาจในกรุงพนมเปญ

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยึดมั่นในการทำตามคำสั่งของกรุงวอชิงตัน จึงไม่แปลกใจเมื่อถนอม กิตติขจร กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า สำหรับสหรัฐอเมริกาแล้ว ประเทศไทยก็คือรัฐที่ 51

คลังเก็บเอกสารไตรทวีป (ENG)